นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ช่วงการสลายการชุมนุม เมื่อปี 2553 ขึ้นเบิกความเป็นปากที่ 2 ว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งนั้น เป็นการขัดขวางและขับไล่การทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ มีการปลุกระดม จึงได้พิจารณาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ยืนยัน ศอฉ. ไม่เคยมีการสั่งให้สลายชุมนุมเป็นการสั่งเพื่อขอพื้นที่คืนบางส่วนเพื่อการจราจรเท่านั้น
ส่วนพื้นที่ที่มีการติดป้ายข้อความว่าเป็นพื้นที่ใช้กระสุนจริงนั้น เข้าใจว่าเป็นดุลพินิจของแต่ละหน่วยเพื่อเตือนประชาชน และสั่งให้รื้อถอนในเวลาต่อมา
ส่วนวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2553 ตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านบริเวณราชปรารภ ว่ามีคนร้ายใช้อาวุธสงครามโจมตีตลอดทั้งคืน และนายพัน คำกอง เด็กชายคุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิต โดยจากการสอบถามทราบว่าในวันดังกล่าวมีรถตู้วิ่งเข้ามาบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มีเสียงปืนปะทะกัน และพบผู้เสียชีวิต แต่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่านายพัน ไม่ได้เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่ ส่วนเด็กชายคุณากรนั้น ก็อยู่นอกวิถีกระสุนของเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ กรณีดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถหาวิถีกระสุนและไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้กระทำให้เสียชีวิต รวมถึงสาเหตุด้วย
ส่วนพื้นที่ที่มีการติดป้ายข้อความว่าเป็นพื้นที่ใช้กระสุนจริงนั้น เข้าใจว่าเป็นดุลพินิจของแต่ละหน่วยเพื่อเตือนประชาชน และสั่งให้รื้อถอนในเวลาต่อมา
ส่วนวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2553 ตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านบริเวณราชปรารภ ว่ามีคนร้ายใช้อาวุธสงครามโจมตีตลอดทั้งคืน และนายพัน คำกอง เด็กชายคุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิต โดยจากการสอบถามทราบว่าในวันดังกล่าวมีรถตู้วิ่งเข้ามาบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มีเสียงปืนปะทะกัน และพบผู้เสียชีวิต แต่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่านายพัน ไม่ได้เสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่ ส่วนเด็กชายคุณากรนั้น ก็อยู่นอกวิถีกระสุนของเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ กรณีดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถหาวิถีกระสุนและไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้กระทำให้เสียชีวิต รวมถึงสาเหตุด้วย