แม้เศรษฐกิจกำลังโตวันโตคืน แต่ระบบอุดมศึกษาของอินโดนีเซียกลับต่ำกว่ามาตรฐานและล้าหลังเพื่อนร่วมภูมิภาค ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพียบพร้อมรองรับวัฒนธรรมการทำงานสมัยใหม่ได้
นักลงทุนต่างแดนแห่แหนสู่ประเทศที่มีประชากร 240 ล้านคนแห่งนี้ ด้วยพลังดึงดูดของตลาดขนาดใหญ่ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และค่าแรงงานต่ำ
ทว่า มหาวิทยาลัยซึ่งขาดแคลนทรัพยากรกลับทำให้แดนอิเหนาขาดแคลนบัณฑิตมีคุณภาพที่คิดเป็นและสามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิตการทำงานอย่างราบรื่น
รายงานที่ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ระบุว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของอินโดนีเซีย มักขาดทักษะที่นายจ้างต้องการ พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงช่องว่างทั้งในทักษะการคิด เทคนิค และพฤติกรรม โดยรายงานฉบับนี้อิงกับผลสำรวจความคิดเห็นของนายจ้างที่ธนาคารโลกจัดทำขึ้นและพบว่า บัณฑิต 20-25% จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมก่อนจึงจะทำงานได้จริงๆ
รายงานของโออีซีดีเสริมว่า มหาวิทยาลัยแดนอิเหนา “ล้าหลัง" ประเทศอื่นๆ และขาดความสามารถแข่งขันในระดับโลก ตรงข้ามกับประเทศอย่างอินเดียที่ผลิตแพทย์ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั่วโลก
ทั้งมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 92 แห่ง และของเอกชนอีกราว 3,000 แห่งของอินโดนีเซีย ไม่มีแห่งใดติด 1 ใน 400 สถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดของโลกในการจัดอันดับครั้งล่าสุดของ ไทมส์ ไฮเออร์ เอยูเคชั่น (Times Higher Education) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาที่เชื่อถือได้มากที่สุดของโลก
สถิตินี้สวนทางกับสภาพการณ์ทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยที่ในประเทศบริกส์ทั้งหมด ต่างมีสถาบันอุดมศึกษาซึ่งติดอยู่ในการจัดอันดับของไทมส์กันทั้งสิ้น
นักลงทุนต่างแดนแห่แหนสู่ประเทศที่มีประชากร 240 ล้านคนแห่งนี้ ด้วยพลังดึงดูดของตลาดขนาดใหญ่ ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และค่าแรงงานต่ำ
ทว่า มหาวิทยาลัยซึ่งขาดแคลนทรัพยากรกลับทำให้แดนอิเหนาขาดแคลนบัณฑิตมีคุณภาพที่คิดเป็นและสามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิตการทำงานอย่างราบรื่น
รายงานที่ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ระบุว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของอินโดนีเซีย มักขาดทักษะที่นายจ้างต้องการ พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงช่องว่างทั้งในทักษะการคิด เทคนิค และพฤติกรรม โดยรายงานฉบับนี้อิงกับผลสำรวจความคิดเห็นของนายจ้างที่ธนาคารโลกจัดทำขึ้นและพบว่า บัณฑิต 20-25% จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมก่อนจึงจะทำงานได้จริงๆ
รายงานของโออีซีดีเสริมว่า มหาวิทยาลัยแดนอิเหนา “ล้าหลัง" ประเทศอื่นๆ และขาดความสามารถแข่งขันในระดับโลก ตรงข้ามกับประเทศอย่างอินเดียที่ผลิตแพทย์ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั่วโลก
ทั้งมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 92 แห่ง และของเอกชนอีกราว 3,000 แห่งของอินโดนีเซีย ไม่มีแห่งใดติด 1 ใน 400 สถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดของโลกในการจัดอันดับครั้งล่าสุดของ ไทมส์ ไฮเออร์ เอยูเคชั่น (Times Higher Education) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาที่เชื่อถือได้มากที่สุดของโลก
สถิตินี้สวนทางกับสภาพการณ์ทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยที่ในประเทศบริกส์ทั้งหมด ต่างมีสถาบันอุดมศึกษาซึ่งติดอยู่ในการจัดอันดับของไทมส์กันทั้งสิ้น