ศูนย์ประชามติมหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือรามคำแหงโพล สำรวจบทบาทสตรีไทยยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ 2 จากประชาชนในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด 6,200 คน พบว่าด้านการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม อันดับ 1 ร้อยละ 27.74 หญิงและชายควรมีสิทธิด้านการเป็นผู้นำ หรือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าเท่าเทียมกัน รองลงมา ร้อยละ 24.76 ควรมีความเท่าเทียมกันด้านการศึกษา และร้อยละ 21.53 ควรมีความเท่าเทียมกันด้านความรับผิดชอบ
ส่วนประเด็นคุณค่าหญิงไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 33.06 อยู่ที่ความรักนวลสงวนตัว รองลงมา 20.60 อยู่ที่การมีความรัก ความอบอุ่น และร้อยละ 13.66 อยู่ที่ความซื่อสัตย์
ส่วนด้านความเสมอภาค ประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้สตรีดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง รองลงมา เพิ่มบทบาทลงโทษ กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิด และถูกกดขี่เอาเปรียบทางเพศ
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนหญิงที่ตั้งครรภ์ กลับเข้าไปเรียนต่อได้หลังจากคลอดบุตร
ส่วนประเด็นคุณค่าหญิงไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 33.06 อยู่ที่ความรักนวลสงวนตัว รองลงมา 20.60 อยู่ที่การมีความรัก ความอบอุ่น และร้อยละ 13.66 อยู่ที่ความซื่อสัตย์
ส่วนด้านความเสมอภาค ประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้สตรีดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง รองลงมา เพิ่มบทบาทลงโทษ กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิด และถูกกดขี่เอาเปรียบทางเพศ
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนหญิงที่ตั้งครรภ์ กลับเข้าไปเรียนต่อได้หลังจากคลอดบุตร