ปัจจุบันมีผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า จำนวน 331 ราย ที่จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นมา แต่ขณะนี้มีกว่า 100 ราย ที่ยังไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการบางส่วนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนฯ รวมถึงขั้นตอนและวิธีการส่งเงิน โดยอัตราจัดเก็บจะแตกต่างกันไปตามประเภทเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ คิดอัตรา 1 สตางค์ต่อ 1 หน่วย ซึ่งเงินที่ได้จะนำไปพัฒนาท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า
นอกจากนี้ กกพ.จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ชี้แจงเหตุผลการจัดเก็บค่าบริการขั้นพื้นฐาน เดือนละ 38 บาท ซึ่งมีรายได้การจัดเก็บ ประมาณเดือนละ 3,800 ล้านบาท จากมิเตอร์ไฟฟ้า 17 ล้านมิเตอร์ทั่วประเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง ร้องเรียนขอให้ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมชำระเงินค่าไฟฟ้าตามจุดบริการที่ร้านสะดวกซื้อ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส เนื่องจากต้องจ่ายค่าบริการพื้นฐานไฟฟ้าอยู่แล้ว
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการบางส่วนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนฯ รวมถึงขั้นตอนและวิธีการส่งเงิน โดยอัตราจัดเก็บจะแตกต่างกันไปตามประเภทเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ คิดอัตรา 1 สตางค์ต่อ 1 หน่วย ซึ่งเงินที่ได้จะนำไปพัฒนาท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า
นอกจากนี้ กกพ.จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ชี้แจงเหตุผลการจัดเก็บค่าบริการขั้นพื้นฐาน เดือนละ 38 บาท ซึ่งมีรายได้การจัดเก็บ ประมาณเดือนละ 3,800 ล้านบาท จากมิเตอร์ไฟฟ้า 17 ล้านมิเตอร์ทั่วประเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง ร้องเรียนขอให้ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมชำระเงินค่าไฟฟ้าตามจุดบริการที่ร้านสะดวกซื้อ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส เนื่องจากต้องจ่ายค่าบริการพื้นฐานไฟฟ้าอยู่แล้ว