หลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศระบายข้าวในโครงการรับจำนำฤดูกาลผลิตปี 2554 /2555 จำนวน 2.5 แสนตัน โดยเปิดให้ผู้ประกอบการยื่นซองประมูล ตั้งแต่วันที่ 19-21 มิถุนายน มีผู้ยื่นซองเพียง 10 ราย
นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องยกเลิกการประมูลข้าว เนื่องจากผู้ยื่นซองเข้าประมูล ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา โดยเสนอราคาต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ได้รายงานให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รับทราบแล้ว ซึ่งหลังจากจะกำหนดประมูลใหม่ โดยเปิดให้ยื่นซองเช่นเดิม แต่อาจปรับเปลี่ยนปริมาณข้าวที่จะระบายจากกรอบที่มีการอนุมัติในหลักการที่ 6 แสนตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า ระยะเวลาในการเปิดประมูลกระชั้นชิด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวได้ทัน รวมถึงไม่กำหนดวันเปิดซอง
ทั้งนี้หากต้องการให้เกิดความโปร่งใส ควรให้ผู้ประกอบการไปดูข้าวในคลังล่วงหน้า 3 วัน ส่วนวันยื่นซอง และเปิดซองควรเป็นวันเดียวกัน
ขณะที่ นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ระบุว่า การระบายข้าวของหลายๆ รัฐบาลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ เอเฟท เพื่อป้องกันการทุจริต
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงพาณิชย์ควรเปิดเผยข้อมูลในการระบายข้าว ว่าผู้ประกอบการรายใดประมูลได้ในราคาเท่าไหร่ เพื่อความโปร่งใส และประชาชนควรมีสิทธิ์รู้ เพราะเป็นการนำเงินภาษีประชาชนมาใช้ในโครงการ
นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องยกเลิกการประมูลข้าว เนื่องจากผู้ยื่นซองเข้าประมูล ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา โดยเสนอราคาต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ได้รายงานให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รับทราบแล้ว ซึ่งหลังจากจะกำหนดประมูลใหม่ โดยเปิดให้ยื่นซองเช่นเดิม แต่อาจปรับเปลี่ยนปริมาณข้าวที่จะระบายจากกรอบที่มีการอนุมัติในหลักการที่ 6 แสนตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวตั้งข้อสังเกตว่า ระยะเวลาในการเปิดประมูลกระชั้นชิด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพข้าวได้ทัน รวมถึงไม่กำหนดวันเปิดซอง
ทั้งนี้หากต้องการให้เกิดความโปร่งใส ควรให้ผู้ประกอบการไปดูข้าวในคลังล่วงหน้า 3 วัน ส่วนวันยื่นซอง และเปิดซองควรเป็นวันเดียวกัน
ขณะที่ นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ระบุว่า การระบายข้าวของหลายๆ รัฐบาลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดความไม่โปร่งใส ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ เอเฟท เพื่อป้องกันการทุจริต
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงพาณิชย์ควรเปิดเผยข้อมูลในการระบายข้าว ว่าผู้ประกอบการรายใดประมูลได้ในราคาเท่าไหร่ เพื่อความโปร่งใส และประชาชนควรมีสิทธิ์รู้ เพราะเป็นการนำเงินภาษีประชาชนมาใช้ในโครงการ