ชาวโรฮิงญา เกือบ 200 คน ชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตพม่า ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในรัฐยะไข่ ของพม่า นับตั้งแต่ชาวพุทธและมุสลิมเชื้อสายโรฮิงญา มีความขัดแย้งตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน เนื่องจากชายชาวมุสลิมข่มขืนแล้วสังหารหญิงชาวพุทธคนหนึ่ง จนเหตุบานปลายกลายเป็นการจลาจล การปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 50 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกหลายหมื่นคน ส่วนการปะทะกันล่าสุดวานนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 12 คน
ส่วนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ยังถูกทางการบังกลาเทศปฏิเสธไม่รับเข้าประเทศ ขณะที่พม่าปฏิเสธว่า ชาวโรฮิงญา ไม่ใช่พลเมืองของพม่า และมองว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ
ปัญหานี้มีนักวิชาการ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนในไทย ให้ความสนใจ และมีการเสวนาเรื่องความขัดแย้งทางชาติพันธุ์โรฮิงญาในพม่า ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในเวทีเสวนา นายชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้แทนจากสมาคมโรฮิงญาในประเทศไทย เห็นตรงกันว่า ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ยุติความรุนแรงทันที และให้มีการเจรจาโดยรัฐบาลพม่าเป็นตัวกลาง นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา ระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญา และชาวอาระกัน เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง เพราะว่าชาวมุสลิมโรฮิงญาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อพยพ จึงไม่ได้รับการยอมรับจากชาวอาระกัน ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองท้องถิ่นดั้งเดิมของยะไข่ รัฐบาลพม่าจึงควรแก้ปัญหาในระยะยาว ด้วยการสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกฝ่าย และลดความเกลียดชังที่มีต่อกันให้ได้
ส่วนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ยังถูกทางการบังกลาเทศปฏิเสธไม่รับเข้าประเทศ ขณะที่พม่าปฏิเสธว่า ชาวโรฮิงญา ไม่ใช่พลเมืองของพม่า และมองว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ
ปัญหานี้มีนักวิชาการ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนในไทย ให้ความสนใจ และมีการเสวนาเรื่องความขัดแย้งทางชาติพันธุ์โรฮิงญาในพม่า ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในเวทีเสวนา นายชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้แทนจากสมาคมโรฮิงญาในประเทศไทย เห็นตรงกันว่า ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ยุติความรุนแรงทันที และให้มีการเจรจาโดยรัฐบาลพม่าเป็นตัวกลาง นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา ระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญา และชาวอาระกัน เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง เพราะว่าชาวมุสลิมโรฮิงญาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อพยพ จึงไม่ได้รับการยอมรับจากชาวอาระกัน ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองท้องถิ่นดั้งเดิมของยะไข่ รัฐบาลพม่าจึงควรแก้ปัญหาในระยะยาว ด้วยการสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกฝ่าย และลดความเกลียดชังที่มีต่อกันให้ได้