นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ในไทย ถึงกรณีกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ จัดลำดับให้ไทยยังอยู่ในระดับ 2.5 หรือ Tier 2 Watch list ซึ่งเป็นลำดับเดิมที่อยู่มาแล้ว 2 ปี และตามปกติปีนี้จะต้องมีการเปลี่ยนเลื่อนระดับขึ้นหรือลดระดับลง โดยระดับ 2.5 เป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ได้พยายามแก้ไข และเป็นประเทศที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด การไม่เลื่อนระดับเปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะรัฐบาลไทยได้ยื่นขอผ่อนผัน แต่หากไม่ได้ยื่นขอผ่อนผันแล้วยังอยู่ที่ระดับเดิมเช่นนี้ก็เป็นเรื่องแปลก
นายวันชัย กล่าวอีกว่า หากประเทศไทยยังไม่แก้ปัญหาการค้ามนุษย์และถูกลดระดับลงไปที่ Tier 3 หรือประเทศที่มีปัญหาค้ามนุษย์แต่ไม่จริงจังในการแก้ไข ก็จะถูกสหรัฐฯ ตัดความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ในพิธีสารการต่อต้านการค้ามนุษย์ อ้างเหตุนี้รณรงค์ไม่ให้ซื้อสินค้าที่เกิดจากแรงงานค้ามนุษย์ และการจ้างแรงงานที่มีค่าหัวแรงงานหรือการขูดรีดแรงงาน ซึ่งประมาณการณ์ ภาคอุตสหากรรมประมง ที่พบการบังคับใช้แรงงานประมง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ จะเกิดผลกระทบจากการรณรงค์ไม่ซื้อสินค้าใน 2 กลุ่มนี้ของไทย คาดว่าจะสูญเสียถึงปีละ 2 แสนล้านบาท ดังนั้นประเทศไทยต้องเร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ แก้ปัญหาการสวมทะเบียนเรือประมง
ด้าน พ.ต.ท.ไพศิษฐ์ สังคหะพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญคดีพิเศษเฉพาะด้าน (ระดับ 9) กำกับดูแลศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ดีเอสไอ กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ไทยยังไม่ถูกปรับลดให้เป็นประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ในบัญชี 3 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีต้องเร่งปรับปรุงแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งดูแลเหยื่อจากการค้ามนุษย์ การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในส่วนของดีเอสไอ มีศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ และมีกฎหมายให้ความผิดในการค้ามนุษย์อยู่ในบัญชีแนบท้าย ของพรบ.คดีพิเศษ ซึ่งสามารถดำเนินการเป็นคดีพิเศษโดยทันที อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่ไทยยังไม่ถูกลดระดับ อาจเป็นเพราะได้เสนอผลงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เห็นความตั้งใจในการแก้ปัญหามาตลอด
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การที่สหรัฐฯ ไม่ปรับเปลี่ยนระดับของไทยต่อปัญหาการค้ามนุษย์จากประเทศที่ต้องจับตามอง มีความเชื่อมโยงกับกรณีนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาในไทย เป็นข้อเจรจาที่มีผลต่อการจัดลำดับครั้งนี้
นายวันชัย กล่าวอีกว่า หากประเทศไทยยังไม่แก้ปัญหาการค้ามนุษย์และถูกลดระดับลงไปที่ Tier 3 หรือประเทศที่มีปัญหาค้ามนุษย์แต่ไม่จริงจังในการแก้ไข ก็จะถูกสหรัฐฯ ตัดความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ในพิธีสารการต่อต้านการค้ามนุษย์ อ้างเหตุนี้รณรงค์ไม่ให้ซื้อสินค้าที่เกิดจากแรงงานค้ามนุษย์ และการจ้างแรงงานที่มีค่าหัวแรงงานหรือการขูดรีดแรงงาน ซึ่งประมาณการณ์ ภาคอุตสหากรรมประมง ที่พบการบังคับใช้แรงงานประมง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ จะเกิดผลกระทบจากการรณรงค์ไม่ซื้อสินค้าใน 2 กลุ่มนี้ของไทย คาดว่าจะสูญเสียถึงปีละ 2 แสนล้านบาท ดังนั้นประเทศไทยต้องเร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ แก้ปัญหาการสวมทะเบียนเรือประมง
ด้าน พ.ต.ท.ไพศิษฐ์ สังคหะพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญคดีพิเศษเฉพาะด้าน (ระดับ 9) กำกับดูแลศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ดีเอสไอ กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ไทยยังไม่ถูกปรับลดให้เป็นประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ในบัญชี 3 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีต้องเร่งปรับปรุงแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งดูแลเหยื่อจากการค้ามนุษย์ การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในส่วนของดีเอสไอ มีศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ และมีกฎหมายให้ความผิดในการค้ามนุษย์อยู่ในบัญชีแนบท้าย ของพรบ.คดีพิเศษ ซึ่งสามารถดำเนินการเป็นคดีพิเศษโดยทันที อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่ไทยยังไม่ถูกลดระดับ อาจเป็นเพราะได้เสนอผลงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เห็นความตั้งใจในการแก้ปัญหามาตลอด
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การที่สหรัฐฯ ไม่ปรับเปลี่ยนระดับของไทยต่อปัญหาการค้ามนุษย์จากประเทศที่ต้องจับตามอง มีความเชื่อมโยงกับกรณีนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาในไทย เป็นข้อเจรจาที่มีผลต่อการจัดลำดับครั้งนี้