โครงการเขื่อนแม่วงก์ ที่ยืดเยื้อมา 40 ปี กำลังเดินหน้าอย่างเต็มตัว หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินโครงการ วันนี้มีการเปิดเวทีรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายก่อนส่งรายงานเข้าสู่การพิจารณา รวมทั้งสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อปรับแบบให้พร้อมก่อสร้างได้ทันทีหลังจากรายงานผ่านการพิจารณา
นายสัญชัย เกตุวรชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการทำประชาพิจารณ์โครงการ แต่เป็นการเห็นด้วยกับการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ เนื่องจากได้ประชาพิจารณ์ไปแล้วเมื่อปี 2545 แต่เวทีนี้เป็นการรับฟังความเห็นร่างรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ก่อส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม พิจารณา และหากรายงานผ่านการพิจารณา สามารถก่อสร้างได้ทันที
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าไปในพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียด เพื่อปรับปรุงแบบสำหรับการก่อสร้าง
หลังจากประธานเปิดงานและให้ข้อมูล ประมาณ 1 ชั่วโมง ชาวบ้านที่เข้ารับฟัง ทยอยออกจากห้องประชุมไปกว่าครึ่ง ทั้งที่ยังไม่ถึงขั้นตอนการแสดงความคิดเห็นที่กรมชลประทานเตรียมให้เวลาถึง 6 ชั่วโมง ส่วนด้านล่างของหอประชุม มีการจัดเวทีดนตรี และล่ารายชื่อชาวบ้านที่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการ
โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เป็นโครงการที่จะก่อสร้างเขื่อนที่เขาสบกก ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมพื้นที่ป่า ราว 11,000 ไร่ กักเก็บน้ำได้ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะทำให้ได้พื้นที่ชลประทานฤดูฝน เกือบ 300,000 ไร่ ฤดูแล้ง 100,000 ไร่ แต่องค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรวิเคราะห์จากข้อมูลพบว่า จะไม่สามารถได้น้ำตามที่คาดการณ์ไว้ และเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า
ด้านชาวบ้านในพื้นที่นั้น มีน้ำบาดาลในการทำนาได้ปีละ 3 ครั้งอยู่แล้ว ประกอบกับ ผลกระทบทางระบบนิเวศจะเกิดขึ้นสูง เนื่องจาก อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก และมีการสำรวจพบว่า เป็นพื้นที่รองรับการกระจายตัวของสัตว์ป่าสำคัญหลายชนิด อาทิ เสือโคร่ง กระทิง กวาง ม้า เก้ง และอื่นๆ ที่ย้ายถิ่นมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
นายสัญชัย เกตุวรชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการทำประชาพิจารณ์โครงการ แต่เป็นการเห็นด้วยกับการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ เนื่องจากได้ประชาพิจารณ์ไปแล้วเมื่อปี 2545 แต่เวทีนี้เป็นการรับฟังความเห็นร่างรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ก่อส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม พิจารณา และหากรายงานผ่านการพิจารณา สามารถก่อสร้างได้ทันที
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าไปในพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียด เพื่อปรับปรุงแบบสำหรับการก่อสร้าง
หลังจากประธานเปิดงานและให้ข้อมูล ประมาณ 1 ชั่วโมง ชาวบ้านที่เข้ารับฟัง ทยอยออกจากห้องประชุมไปกว่าครึ่ง ทั้งที่ยังไม่ถึงขั้นตอนการแสดงความคิดเห็นที่กรมชลประทานเตรียมให้เวลาถึง 6 ชั่วโมง ส่วนด้านล่างของหอประชุม มีการจัดเวทีดนตรี และล่ารายชื่อชาวบ้านที่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการ
โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เป็นโครงการที่จะก่อสร้างเขื่อนที่เขาสบกก ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมพื้นที่ป่า ราว 11,000 ไร่ กักเก็บน้ำได้ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะทำให้ได้พื้นที่ชลประทานฤดูฝน เกือบ 300,000 ไร่ ฤดูแล้ง 100,000 ไร่ แต่องค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรวิเคราะห์จากข้อมูลพบว่า จะไม่สามารถได้น้ำตามที่คาดการณ์ไว้ และเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า
ด้านชาวบ้านในพื้นที่นั้น มีน้ำบาดาลในการทำนาได้ปีละ 3 ครั้งอยู่แล้ว ประกอบกับ ผลกระทบทางระบบนิเวศจะเกิดขึ้นสูง เนื่องจาก อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นส่วนหนึ่งของป่าตะวันตก และมีการสำรวจพบว่า เป็นพื้นที่รองรับการกระจายตัวของสัตว์ป่าสำคัญหลายชนิด อาทิ เสือโคร่ง กระทิง กวาง ม้า เก้ง และอื่นๆ ที่ย้ายถิ่นมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง