การประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ประชุมเพื่อหาข้อสรุปกรณีภาพไม่เหมาะสมปรากฏในจอมอนิเตอร์กลางสภา โดยเป็นการติดตาม ตรวจสอบข้อเท็จจริง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย นายคัมภีร์ ดิษฐากร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบด้านเทคนิค ตัวแทนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตัวแทนจากบริษัท กสท. ตัวแทนจากบริษัท แอลจี และนายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้าชี้แจงด้วย
นายคัมภีร์ระบุ จากการตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่การแฮกข้อมูลของสภา แต่เป็นการส่งภาพจากโทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุง ผ่านโปรแกรมออลแชร์ ซึ่งพบว่ามีผู้ใช้งานในขณะนั้นจำนวน 86 เครื่อง จึงต้องตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่ง แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะโทรทัศน์แอลจีไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ จึงต้องไปตรวจสอบที่หมายเลขเครื่อง แต่ต้องใช้เวลานาน และไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ใช่ผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ ซึ่งตรงกับการชี้แจงของตัวแทนบริษัทแอลจี ที่ยืนยันว่า โทรทัศน์เครื่องนี้บันทึกข้อมูลได้เพียงชั่วคราว หากปิดเครื่องข้อมูลหายทันที
ด้านตัวแทนจาก กสท. ชี้แจงว่า การตรวจสอบหมายเลขเครื่องโทรศัพท์ มีขั้นตอนและรายละเอียดเชิงลึก หากจะตรวจสอบจริงสามารถทำได้ แต่ใช้เวลานาน และต้องเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีอุปกรณ์พร้อม โดยจากการตรวจสอบ สันนิษฐานจากลักษณะไอคอนแอปพลิเคชันคล้ายคลึงกับยี่ห้อซัมซุงมากที่สุด
ขณะที่นายไพจิต พยายามซักถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มาจากความตั้งใจของผู้ส่ง เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ตัวแทน กสช.เห็นว่า ภาพที่ปรากฏอาจมาจากความไม่ตั้งใจของผู้ส่ง และนายคัมภีร์ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ 3 คนของสภา รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องไม่ปรากฏภาพที่ไม่เหมาะสม และโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ไม่ใช่รุ่นที่มีศักยภาพที่ทำได้
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องตั้งค่าปิดโปรแกรมแชร์ภาพ หรือเปลี่ยนมาใช้ระบบสายแลนด์แทนระบบไร้สาย
นายคัมภีร์ระบุ จากการตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่การแฮกข้อมูลของสภา แต่เป็นการส่งภาพจากโทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุง ผ่านโปรแกรมออลแชร์ ซึ่งพบว่ามีผู้ใช้งานในขณะนั้นจำนวน 86 เครื่อง จึงต้องตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่ง แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะโทรทัศน์แอลจีไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ จึงต้องไปตรวจสอบที่หมายเลขเครื่อง แต่ต้องใช้เวลานาน และไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ใช่ผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ ซึ่งตรงกับการชี้แจงของตัวแทนบริษัทแอลจี ที่ยืนยันว่า โทรทัศน์เครื่องนี้บันทึกข้อมูลได้เพียงชั่วคราว หากปิดเครื่องข้อมูลหายทันที
ด้านตัวแทนจาก กสท. ชี้แจงว่า การตรวจสอบหมายเลขเครื่องโทรศัพท์ มีขั้นตอนและรายละเอียดเชิงลึก หากจะตรวจสอบจริงสามารถทำได้ แต่ใช้เวลานาน และต้องเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีอุปกรณ์พร้อม โดยจากการตรวจสอบ สันนิษฐานจากลักษณะไอคอนแอปพลิเคชันคล้ายคลึงกับยี่ห้อซัมซุงมากที่สุด
ขณะที่นายไพจิต พยายามซักถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มาจากความตั้งใจของผู้ส่ง เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ตัวแทน กสช.เห็นว่า ภาพที่ปรากฏอาจมาจากความไม่ตั้งใจของผู้ส่ง และนายคัมภีร์ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ 3 คนของสภา รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องไม่ปรากฏภาพที่ไม่เหมาะสม และโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ไม่ใช่รุ่นที่มีศักยภาพที่ทำได้
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ต้องตั้งค่าปิดโปรแกรมแชร์ภาพ หรือเปลี่ยนมาใช้ระบบสายแลนด์แทนระบบไร้สาย