นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใน จ.ภูเก็ต นั้น ได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต สำรวจความเสียหายของโบราณสถานที่อาจได้รับผลกระทบ โดยได้รับรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโบราณสถานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประกอบด้วย โบราณสถานใน จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง พบว่ายังไม่มีโบราณสถานแห่งใดได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้วางมาตรการเฝ้าระวังเบื้องต้น โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่เสี่ยง และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ร่วมกันเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สามารถผลิตเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เพื่อนำไปติดตั้งยังสถานที่ตั้งโบราณสถานสำคัญด้วย
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า จากการสำรวจโบราณสถานในพื้นที่ที่อยู่บนรอยเลื่อนเขตภาคใต้ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุย พบว่ามีโบราณสถานที่อยู่ในข่ายต้องเฝ้าระวังความมั่นคงหลายแห่ง ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร ได้แก่ วัดจำปา วัดแก้ว วัดหลวง วัดเวียง และวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ.สุราษฎร์ธานี และวัดสุวรรณคีรีวิหาร จ.ระนอง
อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้วางมาตรการเฝ้าระวังเบื้องต้น โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่เสี่ยง และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ร่วมกันเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สามารถผลิตเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เพื่อนำไปติดตั้งยังสถานที่ตั้งโบราณสถานสำคัญด้วย
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า จากการสำรวจโบราณสถานในพื้นที่ที่อยู่บนรอยเลื่อนเขตภาคใต้ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุย พบว่ามีโบราณสถานที่อยู่ในข่ายต้องเฝ้าระวังความมั่นคงหลายแห่ง ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร ได้แก่ วัดจำปา วัดแก้ว วัดหลวง วัดเวียง และวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ.สุราษฎร์ธานี และวัดสุวรรณคีรีวิหาร จ.ระนอง