หม้อแขก และกระทะ ที่ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีจำหน่ายบริเวณชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.ตาก โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก นำไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลย์สงคราม ยืนยันว่า เป็นที่มาของสารตะกั่วตกค้างในร่างกายชาวกะเหรี่ยง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
ภาชนะประเภทหม้อแขก และกระทะ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน มีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนมาก โดยกระทะพบปนเปื้อน 773-859 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หม้อแขก พบสารตะกั่วที่ฝาหม้อ 411-452 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนที่ตัวหม้อพบสารตะกั่ว 361-365 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 ปี 2528 กำหนดมาตรฐานภาชนะหุงต้ม ต้องมีปริมาณตะกั่วละลายออกมาในน้ำ ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
ส่วนการปนเปื้อนจากปัจจัยอื่นที่อาจเป็นสาเหตุให้มีการตรวจพบปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูง เช่น การใช้แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบ สีทาบ้าน หรือของเล่นเด็ก แต่จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีการปนเปื้อนของตะกั่ว เพียงพอที่จะตกค้างในเลือดในปริมาณมากได้
ขณะที่ นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า หลังส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบภาชนะตามแนวชายแดน พบว่าเป็นอัลลอยผสมโลหะหลายชนิด มีสารตะกั่วปนเปื้อน 800 ใน 1,000,000 ส่วน ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เมื่อนำมาปรุงอาหาร ซึ่งกรมควบคุมโรค จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.ตาก ลงไปสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายในการใช้ภาชนะดังกล่าว รวมถึงช่วยระดมทุนซื้อภาชนะที่ปลอดภัยเปลี่ยนให้กับชาวบ้าน
ด้านนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รองประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เตรียมตรวจสอบกรณีนี้ โดยสัปดาห์หน้า เสนอญัตติให้ที่ประชุมกรรมาธิการพิจารณา และอาจมีมติลงพื้นที่ตรวจสอบ ติดตามการแก้ปัญหาดังกล่าว
ภาชนะประเภทหม้อแขก และกระทะ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน มีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนมาก โดยกระทะพบปนเปื้อน 773-859 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หม้อแขก พบสารตะกั่วที่ฝาหม้อ 411-452 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนที่ตัวหม้อพบสารตะกั่ว 361-365 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 ปี 2528 กำหนดมาตรฐานภาชนะหุงต้ม ต้องมีปริมาณตะกั่วละลายออกมาในน้ำ ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
ส่วนการปนเปื้อนจากปัจจัยอื่นที่อาจเป็นสาเหตุให้มีการตรวจพบปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูง เช่น การใช้แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบ สีทาบ้าน หรือของเล่นเด็ก แต่จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีการปนเปื้อนของตะกั่ว เพียงพอที่จะตกค้างในเลือดในปริมาณมากได้
ขณะที่ นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า หลังส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบภาชนะตามแนวชายแดน พบว่าเป็นอัลลอยผสมโลหะหลายชนิด มีสารตะกั่วปนเปื้อน 800 ใน 1,000,000 ส่วน ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เมื่อนำมาปรุงอาหาร ซึ่งกรมควบคุมโรค จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.ตาก ลงไปสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายในการใช้ภาชนะดังกล่าว รวมถึงช่วยระดมทุนซื้อภาชนะที่ปลอดภัยเปลี่ยนให้กับชาวบ้าน
ด้านนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รองประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เตรียมตรวจสอบกรณีนี้ โดยสัปดาห์หน้า เสนอญัตติให้ที่ประชุมกรรมาธิการพิจารณา และอาจมีมติลงพื้นที่ตรวจสอบ ติดตามการแก้ปัญหาดังกล่าว