นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยืนยันว่า ในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่พบแหล่งปิโตรเลียมอื่น นอกเหนือไปจากย่านพุทธมณฑลสาย 2 ในเขตทวีวัฒนา ที่บริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ ได้รับสัมปทานสำรวจ แต่ทั้งนี้ กระแสข่าวที่ว่ามีโอกาสพบน้ำมันใต้พื้นดินของกรุงเทพฯ กลายเป็นจุดสนใจและถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย
ส่วนนายศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า กรณีที่มีการพบน้ำมันนั้น เพราะกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ใต้ทะเลมาก่อน และมีการทับถมของอินทรีย์วัตถุหลายสิบล้านปี เช่นเดียวกับหลายๆ แห่งในประเทศ
ทั้งนี้ การสำรวจปิโตรเลียมจะอาศัยข้อมูลพื้นฐานทางธรณีวิทยา ที่ทำให้ทราบเบื้องต้นถึงโครงสร้างแอ่งสะสมตะกอนใต้ดิน และประเมินความเป็นไปได้ที่จะพบน้ำมันและก๊าซ จากนั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะเปิดประมูลสัมปทาน เพื่อสำรวจเชิงพาณิชย์ ซึ่งจากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ระบุว่า มีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมผลิตทั้งหมดประมาณ 6,000 หลุม หรือร้อยละ 85 ที่อยู่ในอ่าวไทย ส่วนฝั่งอันดามันมีร้อยละ 1 ที่เหลือเป็นหลุมเจาะบนบกรวม 843 หลุม
ส่วนนายศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า กรณีที่มีการพบน้ำมันนั้น เพราะกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ใต้ทะเลมาก่อน และมีการทับถมของอินทรีย์วัตถุหลายสิบล้านปี เช่นเดียวกับหลายๆ แห่งในประเทศ
ทั้งนี้ การสำรวจปิโตรเลียมจะอาศัยข้อมูลพื้นฐานทางธรณีวิทยา ที่ทำให้ทราบเบื้องต้นถึงโครงสร้างแอ่งสะสมตะกอนใต้ดิน และประเมินความเป็นไปได้ที่จะพบน้ำมันและก๊าซ จากนั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะเปิดประมูลสัมปทาน เพื่อสำรวจเชิงพาณิชย์ ซึ่งจากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ระบุว่า มีการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมผลิตทั้งหมดประมาณ 6,000 หลุม หรือร้อยละ 85 ที่อยู่ในอ่าวไทย ส่วนฝั่งอันดามันมีร้อยละ 1 ที่เหลือเป็นหลุมเจาะบนบกรวม 843 หลุม