บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทผันผวน โดยอ่อนค่าช่วงแรกตามทิศทางเงินเอเชียท่ามกลางความกังวลต่อการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันโลก ขณะที่ การไหลเข้าของเงินประกัน ถูกหักล้างโดยแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ช่วงสิ้นเดือนจากผู้นำเข้า อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้ 30.20 ในช่วงต่อมา หลังเงินเอเชียได้แรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้าตามการเก็งกำไรของมาตรการเพิ่มสภาพคล่องของ ECB เงินบาทล้างช่วงบวกทั้งหมดลงช่วงท้ายสัปดาห์ หลังมีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในวงกว้าง เนื่องจากไม่พบสัญญาณผ่อนคลายรอบใหม่จากถ้อยแถลงของประธานเฟด นอกจากนี้ ความต้องการเงินดอลลาร์ฯ ของผู้นำเข้าทองคำ ก็เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทเช่นกัน
ในวันศุกร์ (2 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.55 เทียบกับระดับ 30.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 ก.พ.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (5-9 มี.ค. 2555) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.30-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาผลการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ นำโดย ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคบริการ ข้อมูลตลาดแรงงานเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน การค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (2 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.55 เทียบกับระดับ 30.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 ก.พ.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (5-9 มี.ค. 2555) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.30-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาผลการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ นำโดย ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคบริการ ข้อมูลตลาดแรงงานเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน การค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์