จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น วันพุธ(1มี.ค.) ต่างแสดงความยินดีที่เกาหลีเหนือตกลงระงับกิจกรรมนิวเคลียร์แลกกับความช่วยเหลือด้านอาหารจากอเมริกา ขณะที่นักวิเคราะห์และนักการทูตยังไม่วางใจว่า ความพยายามปลดชนวนความขัดแย้งนี้จะ “ท่าดีทีเหลว” เหมือนเคย โดยที่เปียงยางจะกลับลำแบบครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาหรือไม่
เกาหลีเหนือประกาศในวันพุธ (29ก.พ.)ว่า จะระงับการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ การปล่อยขีปนาวุธพิสัยไกล และการเพิ่มความเข้มข้นของยูเรเนียมที่โรงงานนิวเคลียร์ในยองบอน รวมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) กลับเข้าตรวจสอบ
กระนั้น ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เปียงยางจะยอมให้เจ้าหน้าที่กลับเข้าไปจำนวนเท่าใด และนอกจากที่ยองบอนแล้วจะระงับโครงการอาวุธนิวเคลียร์อื่นๆทั้งหมดหรือไม่
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้มีขึ้นสองเดือนหลังจากคิมจองอึน สืบทอดตำแหน่งประมุขเกาหลีเหนือแทนคิมจองอิล ผู้พ่อที่ถึงแก่อสัญกรรม และรับมอบอำนาจการบริหารประเทศที่ถูกโดดเดี่ยวและถูกคว่ำบาตรมานานปีสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
สำหรับจีน ผู้เป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาอเมริกา-เกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อันนำมาสู่ข้อตกลงคราวนี้ อีกทั้งเป็นมหาอำนาจแห่งเดียวที่สนับสนุนเปียงยาง ได้แสดงความยินดีกับข้อตกลงคราวนี้ พร้อมระบุว่า จะดำเนินการเพื่อฟื้นการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพอันยั่งยืนของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
การเจรจาปลดอาวุธที่ชะงักงันมาหลายรอบ ครั้งล่าสุดคือปี 2008 นั้น มีผู้ร่วมเจรจารวม 6 ฝ่าย ได้แก่ เกาหลีเหนือและใต้ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย ภายหลังที่การหารือหยุดไป เปียงยางก็ขับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนิวเคลียร์ของไอเออีเอ ที่เป็นหน่วยงานชำนาญพิเศษของยูเอ็นออกจากประเทศในปี 2009
ทางด้านญี่ปุ่น พันธมิตรใกล้ชิดของอเมริกา วันพุธ(1)ได้ออกมาขานรับความคิดเห็นของปักกิ่ง และว่าบรรยากาศดูเอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับการเจรจา 6 ฝ่ายกันใหม่ แต่เห็นด้วยกับเจ้าหน้าที่อเมริกันที่ย้ำว่า เปียงยางต้องรักษาคำพูด
เกาหลีใต้แสดงความยินดีเช่นกัน โดยกล่าวว่า นี่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาด้านนิวเคลียร์ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
เกาหลีเหนือประกาศในวันพุธ (29ก.พ.)ว่า จะระงับการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ การปล่อยขีปนาวุธพิสัยไกล และการเพิ่มความเข้มข้นของยูเรเนียมที่โรงงานนิวเคลียร์ในยองบอน รวมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) กลับเข้าตรวจสอบ
กระนั้น ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เปียงยางจะยอมให้เจ้าหน้าที่กลับเข้าไปจำนวนเท่าใด และนอกจากที่ยองบอนแล้วจะระงับโครงการอาวุธนิวเคลียร์อื่นๆทั้งหมดหรือไม่
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้มีขึ้นสองเดือนหลังจากคิมจองอึน สืบทอดตำแหน่งประมุขเกาหลีเหนือแทนคิมจองอิล ผู้พ่อที่ถึงแก่อสัญกรรม และรับมอบอำนาจการบริหารประเทศที่ถูกโดดเดี่ยวและถูกคว่ำบาตรมานานปีสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
สำหรับจีน ผู้เป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาอเมริกา-เกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อันนำมาสู่ข้อตกลงคราวนี้ อีกทั้งเป็นมหาอำนาจแห่งเดียวที่สนับสนุนเปียงยาง ได้แสดงความยินดีกับข้อตกลงคราวนี้ พร้อมระบุว่า จะดำเนินการเพื่อฟื้นการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพอันยั่งยืนของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
การเจรจาปลดอาวุธที่ชะงักงันมาหลายรอบ ครั้งล่าสุดคือปี 2008 นั้น มีผู้ร่วมเจรจารวม 6 ฝ่าย ได้แก่ เกาหลีเหนือและใต้ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย ภายหลังที่การหารือหยุดไป เปียงยางก็ขับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนิวเคลียร์ของไอเออีเอ ที่เป็นหน่วยงานชำนาญพิเศษของยูเอ็นออกจากประเทศในปี 2009
ทางด้านญี่ปุ่น พันธมิตรใกล้ชิดของอเมริกา วันพุธ(1)ได้ออกมาขานรับความคิดเห็นของปักกิ่ง และว่าบรรยากาศดูเอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับการเจรจา 6 ฝ่ายกันใหม่ แต่เห็นด้วยกับเจ้าหน้าที่อเมริกันที่ย้ำว่า เปียงยางต้องรักษาคำพูด
เกาหลีใต้แสดงความยินดีเช่นกัน โดยกล่าวว่า นี่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาด้านนิวเคลียร์ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น