ขุนคลังยูโรโซนอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร (172,000 ล้านดอลลาร์) ป้องกันไม่ให้กรีซผิดชำระหนี้ในเดือนหน้า หลังจากสามารถกล่อมเจ้าหนี้เอกชนให้ยอมรับยอดขาดทุนเพิ่ม และเอเธนส์รับปากลดการใช้จ่ายก้อนใหญ่
ภายหลังการเจรจานาน 13 ชั่วโมงที่เริ่มต้นตั้งแต่วันอังคาร(20) และยืดเยื้อเข้าสู่วันพุธ(21) ในที่สุดรัฐมนตรีคลังยูโรโซนก็รับรองบรรดามาตรการต่างๆ ซึ่งจะยังผลให้ลดหนี้สินภาคสาธารณะของกรีซลงเหลือ 120.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020 ซึ่งนับว่าสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ขีดเส้นไว้ที่ 120% อยู่เล็กน้อย และอนุมัติให้ผ่านเงินช่วยเหลืออัดฉีดก้อนที่ 2 แก่กรีซในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี อันจะทำให้เอเธนส์มีเงินสำหรับไถ่ถอนพันธบัตรที่ถึงกำหนดในเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากเตือนว่า ยังมีคำถามอีกมากมาย เช่น กรีซยังสามารถจ่ายหนี้ได้ตามเงื่อนไขหรือไม่ แม้มีการลดหนี้ให้แล้วก็ตาม โดยเป็นที่ขาดหมายกันว่าเศรษฐกิจกรีซกว่าจะฟื้นตัวเติบโตกันใหม่อาจต้องใช้เวลานานถึง 1 ทศวรรษ ขณะที่การลดงบประมาณจะทำให้เศรษฐกิจกรีซถดถอยเรื้อรังต่อไปหลังจากที่ประสบภาวะนี้มานานถึง 5 ปีแล้ว
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คณะผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรป (อียู) อีซีบี และไอเอ็มเอฟ ได้จัดทำรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งประเมินว่า กรีซอาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเพื่อลดหนี้ให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายอย่างเป็นทางการ หากเศรษฐกิจอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด
นอกจากนั้นถ้าเอเธนส์ไม่ปฏิบัติตามแผนปฎิรูปเศรษฐกิจจนตลอดรอดฝั่ง เพื่อทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น สัดส่วนหนี้ก็อาจพุ่งเป็น 160% ในปี 2020
ภายหลังการเจรจานาน 13 ชั่วโมงที่เริ่มต้นตั้งแต่วันอังคาร(20) และยืดเยื้อเข้าสู่วันพุธ(21) ในที่สุดรัฐมนตรีคลังยูโรโซนก็รับรองบรรดามาตรการต่างๆ ซึ่งจะยังผลให้ลดหนี้สินภาคสาธารณะของกรีซลงเหลือ 120.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020 ซึ่งนับว่าสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ขีดเส้นไว้ที่ 120% อยู่เล็กน้อย และอนุมัติให้ผ่านเงินช่วยเหลืออัดฉีดก้อนที่ 2 แก่กรีซในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี อันจะทำให้เอเธนส์มีเงินสำหรับไถ่ถอนพันธบัตรที่ถึงกำหนดในเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากเตือนว่า ยังมีคำถามอีกมากมาย เช่น กรีซยังสามารถจ่ายหนี้ได้ตามเงื่อนไขหรือไม่ แม้มีการลดหนี้ให้แล้วก็ตาม โดยเป็นที่ขาดหมายกันว่าเศรษฐกิจกรีซกว่าจะฟื้นตัวเติบโตกันใหม่อาจต้องใช้เวลานานถึง 1 ทศวรรษ ขณะที่การลดงบประมาณจะทำให้เศรษฐกิจกรีซถดถอยเรื้อรังต่อไปหลังจากที่ประสบภาวะนี้มานานถึง 5 ปีแล้ว
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คณะผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรป (อียู) อีซีบี และไอเอ็มเอฟ ได้จัดทำรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งประเมินว่า กรีซอาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเพื่อลดหนี้ให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายอย่างเป็นทางการ หากเศรษฐกิจอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด
นอกจากนั้นถ้าเอเธนส์ไม่ปฏิบัติตามแผนปฎิรูปเศรษฐกิจจนตลอดรอดฝั่ง เพื่อทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น สัดส่วนหนี้ก็อาจพุ่งเป็น 160% ในปี 2020