ในการเสวนาร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมจัดขึ้น นักวิชาการที่ร่วมยกร่างพระราชกฤษฎีกา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยภาคประชาชน ยืนยันว่า มีความจำเป็นในการกำหนดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพราะเป็นการเข้าถึงข้อมูลจริง ไม่ใช่รอข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอันตรายจากการทำงานได้
นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การกำหนดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สามารถทำได้ โดยกำหนดเป็นระเบียบภายในของสถาบัน โดยไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย ถูกระบุไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี 2554 ส่วนการให้ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน สามารถเป็นข้าราชการได้นั้น จากความเห็นของไตรภาคีในที่ประชุมสัมมนา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ที่จะมาเป็นประธานควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ในทางปฏิบัติข้าราชการไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้อยู่แล้ว สำหรับข้อคิดเห็นในครั้งนี้จะมีการรวบรวมและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีประกอบการพิจารณา ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยที่กระทรวงแรงงานจะนำเสนอ ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการปฏิรูปกฎหมาย ที่จะต้องเสนอข้อคิดเห็นด้านกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีก่อนการออกกฎหมายทุกฉบับ
นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การกำหนดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สามารถทำได้ โดยกำหนดเป็นระเบียบภายในของสถาบัน โดยไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย ถูกระบุไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี 2554 ส่วนการให้ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน สามารถเป็นข้าราชการได้นั้น จากความเห็นของไตรภาคีในที่ประชุมสัมมนา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ที่จะมาเป็นประธานควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ในทางปฏิบัติข้าราชการไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้อยู่แล้ว สำหรับข้อคิดเห็นในครั้งนี้จะมีการรวบรวมและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีประกอบการพิจารณา ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยที่กระทรวงแรงงานจะนำเสนอ ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการปฏิรูปกฎหมาย ที่จะต้องเสนอข้อคิดเห็นด้านกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีก่อนการออกกฎหมายทุกฉบับ