กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนประชาชน 19 จังหวัดภาคอีสาน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์นี้
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร เตรียมรับพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2555 โดยดูแลสิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้บริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง จัดเก็บสิ่งของที่สามารถปลิวตามลมได้ในที่มิดชิด พร้อมจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ และดูแลพืชผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง หลีกเลี่ยงการหลบพายุฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะอาจถูกล้มทับได้ ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน นาค ทองแดง รวมถึงงดเว้นการใช้เครื่องมือสื่อสารในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันการถูกฟ้าผ่า
ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร เขต 13 อุบลราชธานี เขต 14 อุดรธานี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หรือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร เตรียมรับพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2555 โดยดูแลสิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้บริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง จัดเก็บสิ่งของที่สามารถปลิวตามลมได้ในที่มิดชิด พร้อมจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ และดูแลพืชผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง หลีกเลี่ยงการหลบพายุฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะอาจถูกล้มทับได้ ไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน นาค ทองแดง รวมถึงงดเว้นการใช้เครื่องมือสื่อสารในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันการถูกฟ้าผ่า
ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร เขต 13 อุบลราชธานี เขต 14 อุดรธานี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หรือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป