นางจิรวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังการประชุมการจัดตั้งห้องเรียนออนไลน์ ว่า กระทรวงไอซีที มุ่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และต้องการให้ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา ซึ่งการเรียนรู้ในระบบอินเตอร์เน็ต ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเท่าเทียมด้านการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี ในรูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการถ่ายทอดเรื่องราวและเนื้อหา
กระทรวงไอซีที จึงร่วมกันระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงสาระการเรียนรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีจากทั่วประเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่านทางเว็บไซต์ โดยเบื้องต้นกลุ่มผู้ที่สนใจด้านการเรียนรู้ออนไลน์ ได้จัดทำห้องเรียนออนไลน์นำร่องขึ้น บนเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.thaischoolict.net/e-learning ซึ่งจะมีการพัฒนาและต่อยอดให้มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาและสาระวิชาให้มากขึ้นด้วย
กระทรวงไอซีที ยังตั้งเป้าให้ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนที่จัดตั้งขึ้นจำนวน 1,880 ศูนย์ ทั่วประเทศ เป็นห้องเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ โดยระยะแรกเปิดนำร่อง 25 ศูนย์ และจะขยายให้สามารถใช้งานได้ครบทั้ง 1,880 ศูนย์ ภายใน 3 ปี เพื่อให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้แก่นักเรียน หรือเด็กในชนบทที่ห่างไกล และเด็กด้อยได้มีการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
กระทรวงไอซีที จึงร่วมกันระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงสาระการเรียนรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีจากทั่วประเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่านทางเว็บไซต์ โดยเบื้องต้นกลุ่มผู้ที่สนใจด้านการเรียนรู้ออนไลน์ ได้จัดทำห้องเรียนออนไลน์นำร่องขึ้น บนเว็บไซต์ที่ชื่อว่า www.thaischoolict.net/e-learning ซึ่งจะมีการพัฒนาและต่อยอดให้มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาและสาระวิชาให้มากขึ้นด้วย
กระทรวงไอซีที ยังตั้งเป้าให้ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนที่จัดตั้งขึ้นจำนวน 1,880 ศูนย์ ทั่วประเทศ เป็นห้องเรียนการเรียนรู้ออนไลน์ โดยระยะแรกเปิดนำร่อง 25 ศูนย์ และจะขยายให้สามารถใช้งานได้ครบทั้ง 1,880 ศูนย์ ภายใน 3 ปี เพื่อให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้แก่นักเรียน หรือเด็กในชนบทที่ห่างไกล และเด็กด้อยได้มีการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม