การลงนามความร่วมมือในโครงการปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทยเกิดขึ้น หลังจากพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายในการป้องกันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ทารกแรกเกิด 8 แสนคนต่อปี พบความพิการแต่กำเนิดร้อยละ 3-5 ของทารกแรกเกิด หรือประมาณ 24,000-40,000 คนต่อปี และยังพบอีกว่า กว่าร้อยละ 30 มีความพิการแต่กำเนิดและนำไปสู่การเสียชีวิต
ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการที่พ่อแม่ไม่ได้วางแผนครอบครัว และคนไทยยังขาดความรู้ในการป้องกัน โดยเฉพาะการสนับสนุนการบริโภคอาหารที่มีโฟเลต ที่พบมากในผักใบเขียว ซึ่งควรเริ่มส่งเสริมให้มีการบริโภคตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือเริ่มมีประจำเดือน โดยเฉพาะ2-3 เดือนแรกหลังการปฏิสนธิ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดทารกพิการแต่กำเนิด ในอาการหลอดประสาทไม่ปิดที่นำไปสู่การพิการทางสมอง และอวัยวะส่วนต่างๆ
ศ.พญ.พรสวรรค์ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งให้ความรู้การบริโภคสารโฟเลตอย่างจริงจัง เช่น ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเพิ่มสารโฟเลตในอาหารประจำวัน พร้อมกันนี้ ต้องเชื่อมต่อข้อมูลการจดทะเบียนคนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 7 ขวบ เพื่อให้ผู้พิการได้รับการดูแลต่อเนื่อง
ศ.พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการที่พ่อแม่ไม่ได้วางแผนครอบครัว และคนไทยยังขาดความรู้ในการป้องกัน โดยเฉพาะการสนับสนุนการบริโภคอาหารที่มีโฟเลต ที่พบมากในผักใบเขียว ซึ่งควรเริ่มส่งเสริมให้มีการบริโภคตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือเริ่มมีประจำเดือน โดยเฉพาะ2-3 เดือนแรกหลังการปฏิสนธิ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดทารกพิการแต่กำเนิด ในอาการหลอดประสาทไม่ปิดที่นำไปสู่การพิการทางสมอง และอวัยวะส่วนต่างๆ
ศ.พญ.พรสวรรค์ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งให้ความรู้การบริโภคสารโฟเลตอย่างจริงจัง เช่น ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเพิ่มสารโฟเลตในอาหารประจำวัน พร้อมกันนี้ ต้องเชื่อมต่อข้อมูลการจดทะเบียนคนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 7 ขวบ เพื่อให้ผู้พิการได้รับการดูแลต่อเนื่อง