เมื่อเวลา 23.30 น. วันที่ 31 ม.ค. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปลี่ยนรูปภาพแสดงตัวตน(โปรไฟล์) ที่หน้าเฟซบุ๊คเมื่อเวลา 23.30 น. วันที่ 31 ม.ค. จากสัญญลักษณ์สีแดงบนพื้นสีเหลือง เป็นสัญญลักษณ์สีขาวบนพื้นสีดำ มีข้อความกำกับว่า "เสรีภาพทางความคิด ไม่สามารถใช้งานได้ขณะนี้ ขออภัยในความไม่สะดวก"
หลังจากนั้นในเวลา 01.21 น. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่ แถลงการณ์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/thammasatsu มีข้อความดังนี้
"...กรณี มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหว มาตรา ๑๑๒...
ตามที่ได้มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนข้อความผ่านทาง Facebook ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งมีข้อความว่า “ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา ๑๑๒ อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้” นั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในฐานะผู้แทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่ามติที่มีผลผูกพันดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) จึงขอแสดงจุดยืนที่มีต่อมติดังกล่าว ดังนี้
1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์ เป็นสถานที่หลักในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป
3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่างไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทางการเมืองใดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง
ด้วยจิตคารวะ
คณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕"
หลังจากนั้นในเวลา 01.21 น. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่ แถลงการณ์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/thammasatsu มีข้อความดังนี้
"...กรณี มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหว มาตรา ๑๑๒...
ตามที่ได้มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนข้อความผ่านทาง Facebook ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งมีข้อความว่า “ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา ๑๑๒ อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้” นั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในฐานะผู้แทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่ามติที่มีผลผูกพันดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) จึงขอแสดงจุดยืนที่มีต่อมติดังกล่าว ดังนี้
1) อมธ. ร้องขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ท่านอธิการบดีได้ระบุไว้ข้างต้น เพราะมติดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
2) มหาวิทยาลัยเปรียบได้กับห้องทดลองในทางสังคมศาสตร์ เป็นสถานที่หลักในการขับเคลื่อนพัฒนาการในทางวิชาการ เปรียบได้กับพัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยห้องทดลองเป็นสำคัญ การไม่อนุญาตให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นย่อมไม่ต่างอะไรกับการทำลายเสาค้ำยันในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพในทางความคิดทิ้งไป
3) เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงขอเรียกร้องให้ท่านอธิการบดี ชี้แจงถึงมติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ อมธ. ยังคงยืนยันในจุดยืนแห่งการมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรายังคงเคารพในความเห็นที่แตกต่างไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
ทั้งนี้ อมธ. ในฐานะผู้แทนของนักศึกษาซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด ขอรับรองว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่กลุ่มทางการเมืองใด และไม่มีกลุ่มทางการเมืองใดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากแต่ความสวยงามในความคิดเห็นที่แตกต่างคือภาพสะท้อนแห่งความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่แท้จริง
ด้วยจิตคารวะ
คณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕"