กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยรายงานครั้งล่าสุด โดยระบุว่า รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ควรจะหลีกเลี่ยงการรับมือกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้มาตรการคุมเข้มด้านการคลังเพิ่มเติม
โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา ยอดขาดดุลการคลังของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ลดลง 1% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ส่วนยอดขาดดุลงบประมาณของกลุ่มประเทศยูโรโซน ลดลง 2% แตะระดับ 4.3% ของจีดีพี ปี 2554 ขณะที่ ญี่ปุ่ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเพียงประเทศเดียว ที่ยอดขาดดุลการคลัง ขยายตัวขึ้นในปี 2554 เนื่องจาก ญี่ปุ่น ต้องนำงบประมาณมาใช้จ่ายในการบูรณะก่อสร้าง หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรรมชาติ โดยยอดขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้น 0.8% สู่ระดับ 10.1% ของจีดีพี
ด้านกลุ่มตลาดเกิดใหม่นั้น ยอดขาดดุลการคลัง ลดลง 1% มาอยู่ที่ 2.6% ของจีดีพี ในปี 2554 และตัวเลขหนี้สาธารณะ ลดลง 3% แตะที่ 37.8% ของจีดีพี
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับ 103.5% ของจีดีพี ในปี 2554 ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน เพิ่มขึ้น 3.1% แตะที่ 88.4% ของจีดีพีในปี 2554
ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณแต่ ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า หากมีการใช้มาตรการด้านการคลังที่เข้มงวดมากจนเกินไป ในปี 2555 อาจทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง
นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟเตือนว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซน กำลังส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวลงในปีนี้ด้วย
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ลงสู่ระดับ 3.3% จากเดิมที่คาดว่า จะขยายตัว 4% และคาดว่า เศรษฐกิจ ยูโรโซน จะหดตัว 0.5% ในปีนี้
โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา ยอดขาดดุลการคลังของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ลดลง 1% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ส่วนยอดขาดดุลงบประมาณของกลุ่มประเทศยูโรโซน ลดลง 2% แตะระดับ 4.3% ของจีดีพี ปี 2554 ขณะที่ ญี่ปุ่ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเพียงประเทศเดียว ที่ยอดขาดดุลการคลัง ขยายตัวขึ้นในปี 2554 เนื่องจาก ญี่ปุ่น ต้องนำงบประมาณมาใช้จ่ายในการบูรณะก่อสร้าง หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรรมชาติ โดยยอดขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้น 0.8% สู่ระดับ 10.1% ของจีดีพี
ด้านกลุ่มตลาดเกิดใหม่นั้น ยอดขาดดุลการคลัง ลดลง 1% มาอยู่ที่ 2.6% ของจีดีพี ในปี 2554 และตัวเลขหนี้สาธารณะ ลดลง 3% แตะที่ 37.8% ของจีดีพี
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับ 103.5% ของจีดีพี ในปี 2554 ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน เพิ่มขึ้น 3.1% แตะที่ 88.4% ของจีดีพีในปี 2554
ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณแต่ ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า หากมีการใช้มาตรการด้านการคลังที่เข้มงวดมากจนเกินไป ในปี 2555 อาจทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง
นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟเตือนว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซน กำลังส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวลงในปีนี้ด้วย
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ลงสู่ระดับ 3.3% จากเดิมที่คาดว่า จะขยายตัว 4% และคาดว่า เศรษฐกิจ ยูโรโซน จะหดตัว 0.5% ในปีนี้