นางสาวส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ทิศทางตลาดแรงงานไทยในปีนี้มี 3 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มสภาพการจ้างงานคงที่ ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ซึ่งกลุ่มนี้ต้องรักษาโควต้าเดิมที่ได้รับไม่ให้น้อยลง หากเป็นไปได้อาจจะได้รับโควต้าเพิ่มเล็กน้อย 2.กลุ่มแนวโน้มขยายตัว ที่ต้องการจ้างแรงงานฝีมือและกลุ่มฝีมือในกิจการก่อสร้าง เช่น แถบตะวันออกกลาง การ์ตา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอฟริกาใต้ และแอลจีเรีย 3.ตลาดแรงงานใหม่ที่มีความต้องการแรงงานในภาคการเกษตร เช่น สวีเดน ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์
ทั้งนี้ ทิศทางตลาดแรงงานในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มดีขึ้น และค่อยๆ ขยายตัว แต่ประเทศไทยยังติดปัญหา เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการเข้าไปเฟ้นหาตลาดแรงงาน จึงต้องร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ในการหาตำแหน่งงาน เนื่องจากบางประเทศไม่มีสำนักงานแรงงานไทย ในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม นโยบายปีนี้ของกระทรวงแรงงาน เน้นหาตำแหน่งงานฝีมือและกลุ่มฝีมือ ในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนปัจจุบันในตำแหน่งฝีมือ มีอยู่ที่ 40 ต่อ 60 หากเป็นไปได้อยากให้สัดส่วนเท่ากัน โดยตั้งเป้าขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนปัจจุบันของแรงงานที่เดินทางไปใหม่ 90,000 คน ส่วนแรงงานที่เคยเดินทางไปทำงานแล้วกลับไปทำงานใหม่อีกครั้ง 60,000 คน เมื่อรวมกับแรงงานที่มีอยู่เดิม อีก 400,000 คน จะมีแรงงานไทยในต่างแดน 602,261 คน
ทั้งนี้ ทิศทางตลาดแรงงานในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มดีขึ้น และค่อยๆ ขยายตัว แต่ประเทศไทยยังติดปัญหา เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการเข้าไปเฟ้นหาตลาดแรงงาน จึงต้องร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ในการหาตำแหน่งงาน เนื่องจากบางประเทศไม่มีสำนักงานแรงงานไทย ในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม นโยบายปีนี้ของกระทรวงแรงงาน เน้นหาตำแหน่งงานฝีมือและกลุ่มฝีมือ ในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนปัจจุบันในตำแหน่งฝีมือ มีอยู่ที่ 40 ต่อ 60 หากเป็นไปได้อยากให้สัดส่วนเท่ากัน โดยตั้งเป้าขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนปัจจุบันของแรงงานที่เดินทางไปใหม่ 90,000 คน ส่วนแรงงานที่เคยเดินทางไปทำงานแล้วกลับไปทำงานใหม่อีกครั้ง 60,000 คน เมื่อรวมกับแรงงานที่มีอยู่เดิม อีก 400,000 คน จะมีแรงงานไทยในต่างแดน 602,261 คน