สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการวิจัยความเห็นของประชาชนไทยต่อผู้อพยพพลัดถิ่น และแรงงานจากประเทศพม่า พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้จัดระบบบริการสาธารณสุขกับกลุ่มดังกล่าว แต่ควรเป็นคนละระบบกับคนไทย ส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยว่า แรงงานที่ไม่ได้จดทะเบียน อาจจะก่อปัญหาความมั่นคง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน
การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนใน 4 จังหวัดชายแดน ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ตาก และแม่ฮ่องสอน ที่มีต่อคนพลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย และการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติจากพม่า ส่วนใหญ่เห็นว่า กลุ่มคนดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาต่อความมั่นคง ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่จดทะเบียน แต่ส่วนใหญ่สนับสนุนให้จัดบริการสาธารณสุข และการศึกษาให้กับแรงงานชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานเดียวกับคนไทย แต่ควรจัดคนละระบบกับคนไทย ทั้งด้านสถานที่ การจัดสรรงบประมาณ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค
ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ลี้ภัยควรได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับคนไทย ยกเว้นแรงงานที่ไม่จดทะเบียน ส่วนการให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัย ควรเป็นลักษณะชั่วคราว แต่อนุญาตให้ทำงานเพื่อมีรายได้ ขณะที่กลุ่มแรงงานจดทะเบียน หากแต่งงานกับคนไทย ควรได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยอย่างถาวรได้
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนที่จะมอบสัญชาติไทยให้กับลูกผู้ลี้ภัย หรือแรงงานพม่าที่เกิดในไทย รวมทั้งต้องการให้ผู้พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย และแรงงานชาวพม่า เรียกรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย เพื่อใช้ชีวิตในไทยอย่างราบรื่น
การวิจัยนี้เป็นการสำรวจในมิติด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย และการบริการสาธารณะ
การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนใน 4 จังหวัดชายแดน ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ตาก และแม่ฮ่องสอน ที่มีต่อคนพลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย และการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติจากพม่า ส่วนใหญ่เห็นว่า กลุ่มคนดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาต่อความมั่นคง ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่จดทะเบียน แต่ส่วนใหญ่สนับสนุนให้จัดบริการสาธารณสุข และการศึกษาให้กับแรงงานชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานเดียวกับคนไทย แต่ควรจัดคนละระบบกับคนไทย ทั้งด้านสถานที่ การจัดสรรงบประมาณ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค
ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ลี้ภัยควรได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับคนไทย ยกเว้นแรงงานที่ไม่จดทะเบียน ส่วนการให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัย ควรเป็นลักษณะชั่วคราว แต่อนุญาตให้ทำงานเพื่อมีรายได้ ขณะที่กลุ่มแรงงานจดทะเบียน หากแต่งงานกับคนไทย ควรได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยอย่างถาวรได้
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนที่จะมอบสัญชาติไทยให้กับลูกผู้ลี้ภัย หรือแรงงานพม่าที่เกิดในไทย รวมทั้งต้องการให้ผู้พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย และแรงงานชาวพม่า เรียกรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย เพื่อใช้ชีวิตในไทยอย่างราบรื่น
การวิจัยนี้เป็นการสำรวจในมิติด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย และการบริการสาธารณะ