เวิลด์แบงก์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลก เตือนปัญหาหนี้สินสาธารณะของชาติมั่งคั่ง อาจฉุดรั้งไม่เว้นแม้แต่ประเทศกำลังพัฒนา ให้ติดกับดักปัญหาที่อาจเลวร้ายกว่าวิกฤตภาคการเงินโลกในปี 2008 ซึ่งเรียกขานกันว่า “วิกฤตเลห์แมน” หรือ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์”
ธนาคารโลกระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects)ฉบับล่าสุด ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันอังคาร(18)ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตในอัตรา 2.5% และ 3.1% ในปี 2013 ลดลงอย่างชัดเจนจากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.6% ทั้งสองปี และเทียบกับ 2.7% ในปี 2011 ที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากอย่างมากจากความเสี่ยงขาลงและความเปราะบาง” รายงานล่าสุดของเวิลด์แบง์กล่าว ทั้งนี้หน่วยงานแห่งนี้จัดทำรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกออกมาเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
รายงานเสริมว่า ประเทศที่มีรายได้สูงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับความพึงพอใจของตลาด ในการระดมหาเงินกู้มาอัดฉีดยอดขาดดุลและหนี้ที่ถึงกำหนดชำระของพวกตน เพราะหากตลาดเกิดไม่ตอบสนองแล้ว วิกฤตก็จะแผ่ปกคลุมแบงก์เอกชนและสถาบันการเงินทั้งสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจประสบภาวะถดถอยรุนแรงพอๆ กับหรือรุนแรงกว่า “วิกฤตเลห์แมน” ซึ่งหมายถึงวิกฤตในภาคการเงินโลกที่จุดชนวนโดยการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอเมริกันยักษ์ใหญ่ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ทั้งประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากวิกฤตดังกล่าว ต้องหาทางรับมือแนวโน้มขาลงที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า รายงานเตือนและกล่าวด้วยว่า “หากเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ประเทศต่างๆ จะถูกบีบให้ลดการใช้จ่ายอันจะทำให้วงจรขาลงยิ่งดิ่งลึก”
รายงานระบุว่า การเติบโตในประเทศกำลังพัฒนารายสำคัญ โดยเฉพาะบราซิลและอินเดียนั้น กำลังชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเพราะนโยบายคุมเข้มภายในประเทศ
ธนาคารโลกระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects)ฉบับล่าสุด ซึ่งนำออกเผยแพร่ในวันอังคาร(18)ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตในอัตรา 2.5% และ 3.1% ในปี 2013 ลดลงอย่างชัดเจนจากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ซึ่งให้ไว้ที่ 3.6% ทั้งสองปี และเทียบกับ 2.7% ในปี 2011 ที่ผ่านมา
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากอย่างมากจากความเสี่ยงขาลงและความเปราะบาง” รายงานล่าสุดของเวิลด์แบง์กล่าว ทั้งนี้หน่วยงานแห่งนี้จัดทำรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกออกมาเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
รายงานเสริมว่า ประเทศที่มีรายได้สูงไม่สามารถฝากความหวังไว้กับความพึงพอใจของตลาด ในการระดมหาเงินกู้มาอัดฉีดยอดขาดดุลและหนี้ที่ถึงกำหนดชำระของพวกตน เพราะหากตลาดเกิดไม่ตอบสนองแล้ว วิกฤตก็จะแผ่ปกคลุมแบงก์เอกชนและสถาบันการเงินทั้งสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจประสบภาวะถดถอยรุนแรงพอๆ กับหรือรุนแรงกว่า “วิกฤตเลห์แมน” ซึ่งหมายถึงวิกฤตในภาคการเงินโลกที่จุดชนวนโดยการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอเมริกันยักษ์ใหญ่ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว
ทั้งประเทศมั่งคั่งและประเทศกำลังพัฒนาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากวิกฤตดังกล่าว ต้องหาทางรับมือแนวโน้มขาลงที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า รายงานเตือนและกล่าวด้วยว่า “หากเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ประเทศต่างๆ จะถูกบีบให้ลดการใช้จ่ายอันจะทำให้วงจรขาลงยิ่งดิ่งลึก”
รายงานระบุว่า การเติบโตในประเทศกำลังพัฒนารายสำคัญ โดยเฉพาะบราซิลและอินเดียนั้น กำลังชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเพราะนโยบายคุมเข้มภายในประเทศ