หลังจากชาวกัมพูชานำหนูนา หนูท่อหรือหนูบ้าน ชำแหละส่งขายเมืองไทย วันละกว่า 3 ตัน ผ่านตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว และกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ได้รับความนิยมนำไปประกอบเมนูแกงป่า และหนูนาย่าง
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หนูนาสะอาดเพราะกินพืช แต่หนูท่อ อาศัยในเมืองหรือตามตลาดสด ไม่ควรนำมาเป็นอาหาร เนื่องจากกินอาหารสกปรกและของเน่าเสีย ควรกำจัดทิ้ง เพราะหนูเหล่านี้นำโรคได้ถึง 7 ชนิด ได้แก่ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส โรคมิวลีนไทฟัส พยาธิตืดหนู พยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง กาฬโรค และโรคพิษสุนัขบ้า
โดยกลุ่มเสี่ยงเริ่มตั้งแต่ผู้จับหนู อาจจะได้รับเชื้อจากการถูกหนูกัด ผู้ชำแหละหนู อาจสัมผัสและได้รับเชื้อจากเลือดหรือฉี่หนู และผู้บริโภค ที่รับประทานเนื้อหนูสุกๆ ดิบๆ จะได้รับเชื้อและพยาธิที่อยู่ในตัวหนู ข้อสำคัญต้องบริโภคเนื้อหนูแบบสุกเท่านั้น
วิธีสังเกตหนูนาที่ควรบริโภค คือ ท้องขาว เท้าหลังและหางมีสีดำ ไม่มีกลิ่นสาป หากเป็นหนูทอ่อ เท้าหลังสีขาว สีหางด้านบนตั้งแต่โคนจรดปลายหางมีสีดำ แต่ด้านใต้ท้องหางเป็นสีขาว และเนื้อมีกลิ่นสาป
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หนูนาสะอาดเพราะกินพืช แต่หนูท่อ อาศัยในเมืองหรือตามตลาดสด ไม่ควรนำมาเป็นอาหาร เนื่องจากกินอาหารสกปรกและของเน่าเสีย ควรกำจัดทิ้ง เพราะหนูเหล่านี้นำโรคได้ถึง 7 ชนิด ได้แก่ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส โรคมิวลีนไทฟัส พยาธิตืดหนู พยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง กาฬโรค และโรคพิษสุนัขบ้า
โดยกลุ่มเสี่ยงเริ่มตั้งแต่ผู้จับหนู อาจจะได้รับเชื้อจากการถูกหนูกัด ผู้ชำแหละหนู อาจสัมผัสและได้รับเชื้อจากเลือดหรือฉี่หนู และผู้บริโภค ที่รับประทานเนื้อหนูสุกๆ ดิบๆ จะได้รับเชื้อและพยาธิที่อยู่ในตัวหนู ข้อสำคัญต้องบริโภคเนื้อหนูแบบสุกเท่านั้น
วิธีสังเกตหนูนาที่ควรบริโภค คือ ท้องขาว เท้าหลังและหางมีสีดำ ไม่มีกลิ่นสาป หากเป็นหนูทอ่อ เท้าหลังสีขาว สีหางด้านบนตั้งแต่โคนจรดปลายหางมีสีดำ แต่ด้านใต้ท้องหางเป็นสีขาว และเนื้อมีกลิ่นสาป