นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.กล่าวว่า พร้อมชี้แจงข้อสงสัยเรื่องต้นทุนเอ็นจีวี โดยต้นทุนก๊าซทั้งระบบมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ดูแลตรวจสอบตั้งแต่ราคาก๊าซปากหลุม ค่าผ่านท่อมาร์จินต่างๆ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นทุกขั้นตอน โดยราคาที่ทางสถาบันปิโตรเลียมศึกษาเมื่อปี 2553 อยู่ที่ 15.50 บาท ซึ่งหากถาม ปตท.ก็ต้องตอบว่า ต้นทุนสูงกว่านี้ โดยที่ผ่านมา ปตท.รับภาระขยายปั๊มเอ็นจีวีไปแล้ว 40,000 ล้านบาท หากไม่ทำอะไรเลย จะรับภาระอีกไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ยิ่งน้ำมันแพงคนก็จะยิ่งหันมาใช้ทั้งแอลพีจี เอ็นจีวีมากขึ้น และขอยืนยันว่า ปตท.ไม่ได้ผูกขาดการจำหน่าย หากใครเข้ามาทำธุรกิจก๊าซทั้งระบบก็ทำได้แต่ว่าต้นทุนจะสูงมาก จึงไม่มีใครเข้ามาแข่งขัน อย่างไรก็ตาม เอ็นจีวีเป็นพลังงานทางเลือก ซึ่งต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับน้ำมัน ซึ่งผู้บริโภคต้องเลือกว่าจะใช้ของแพงที่ดี หรือใช้ของถูกลงแต่ดีน้อยกว่า
ทั้งนี้การปรับโครงสร้างราคาพลังงานวันที่ 16 มกราคมนี้ ราคาแอลพีจีภาคขนส่งปรับขึ้น 41 สตางค์ต่อลิตร เอ็นจีวีขึ้น 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันดีเซล 60 สตางค์ และเบนซินแก๊ซโซฮอล์ 1 บาทต่อลิตร
ทั้งนี้การปรับโครงสร้างราคาพลังงานวันที่ 16 มกราคมนี้ ราคาแอลพีจีภาคขนส่งปรับขึ้น 41 สตางค์ต่อลิตร เอ็นจีวีขึ้น 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันดีเซล 60 สตางค์ และเบนซินแก๊ซโซฮอล์ 1 บาทต่อลิตร