นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนพฤศจิกายนว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเดือนพฤศจิกายนปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และลดลงต่ำสุดในรอบ 29 เดือน โดยมีค่าอยู่ที่ระดับ 87.5 ลดลงจากระดับ 89.0 ในเดือนตุลาคม
นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบในด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการจากวิกฤตอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่ต้องชะลอหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วน
ขณะเดียวกันเส้นทางคมนาคมที่ถูกน้ำท่วมยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงในบางพื้นที่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ผู้ประกอบการยังกังวลต่อการฟื้นฟูกิจการ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นที่มีค่าต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนพฤศจิกายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงจากเดือนตุลาคม โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม อยู่ที่ระดับ 82.6 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 83.2 ในเดือนตุลาคม อุตสาหกรรมขนาดกลางอยู่ที่ระดับ 90.7 ลดลงจากระดับ 93.1 ในเดือนตุลาคม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 87.3 ในเดือนตุลาคม
ขณะที่ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกมากที่สุด รองลงมาคือ ราคาน้ำมัน สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐควรเร่งช่วยเหลือภาค อุตสาหกรรม และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต พร้อมกับแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และควบคุมราคาสินค้า ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย
นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบในด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการจากวิกฤตอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่ต้องชะลอหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วน
ขณะเดียวกันเส้นทางคมนาคมที่ถูกน้ำท่วมยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงในบางพื้นที่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ผู้ประกอบการยังกังวลต่อการฟื้นฟูกิจการ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นที่มีค่าต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนพฤศจิกายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงจากเดือนตุลาคม โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม อยู่ที่ระดับ 82.6 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 83.2 ในเดือนตุลาคม อุตสาหกรรมขนาดกลางอยู่ที่ระดับ 90.7 ลดลงจากระดับ 93.1 ในเดือนตุลาคม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 87.3 ในเดือนตุลาคม
ขณะที่ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกมากที่สุด รองลงมาคือ ราคาน้ำมัน สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐควรเร่งช่วยเหลือภาค อุตสาหกรรม และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต พร้อมกับแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และควบคุมราคาสินค้า ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย