นางสาวพรรณทิพย์ เพชรมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช.เปิดเผยว่า จากการที่ พอช.ได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชน จัดทำคู่มือการจัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยขบวนองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง 128 ศูนย์ ใน 17 จังหวัด มีผู้รับการช่วยเหลือกว่า 110,000 รายนั้น ขณะนี้หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดลงและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู โดยมีการสำรวจความเสียหาย จัดทำแผนฟื้นฟูระยะสั้นระยะกลาง ได้แก่ การซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพ การจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ การฟื้นฟูการเกษตร การวางผังชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนจัดการน้ำ การวางผังตำบล ที่เป็นแผนนระยะยาว
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช.กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการฟื้นฟูคือการวางผังตำบลซึ่งชุมชนได้นำแผนที่ทำมือ และแผนที่ในระบบภูมิสารสนเทศ หรือ GIS เป็นเครื่องมือดำเนินการ อาทิ การกำหนดพื้นที่แก้มลิง อ่างเก็บน้ำ ฝายกั้นน้ำ บริเวณที่ควรขุดลอก บริเวณพื้นที่นาซึ่งควรเว้นทำนาในช่วงหน้าน้ำเพื่อเป็นพื้นที่เก็บน้ำ การทำนาปรังแทนนาปี หรือปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน การคืนพื้นที่ป่า การกำหนดพื้นที่ซึ่งต้องย้ายบ้านออก การแลกเปลี่ยนที่ดิน หรือปรับรูปแบบบ้าน โดยช่วงแรกชุมชนจะเริ่มจากการจัดการน้ำ ก่อนขยายไปสู่ประเด็นที่ดิน ป่า การผลิต การเกษตร ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตามความพร้อม
ทั้งนี้ มีพื้นที่นำร่องที่ดำเนินการและเริ่มมีรูปธรรม อาทิ ต.เขวา จ.มหาสารคาม ต.คลองหินปูน จ.สระแก้ว ต.บัวใหญ่ จ.น่าน เป็นต้น
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช.กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการฟื้นฟูคือการวางผังตำบลซึ่งชุมชนได้นำแผนที่ทำมือ และแผนที่ในระบบภูมิสารสนเทศ หรือ GIS เป็นเครื่องมือดำเนินการ อาทิ การกำหนดพื้นที่แก้มลิง อ่างเก็บน้ำ ฝายกั้นน้ำ บริเวณที่ควรขุดลอก บริเวณพื้นที่นาซึ่งควรเว้นทำนาในช่วงหน้าน้ำเพื่อเป็นพื้นที่เก็บน้ำ การทำนาปรังแทนนาปี หรือปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน การคืนพื้นที่ป่า การกำหนดพื้นที่ซึ่งต้องย้ายบ้านออก การแลกเปลี่ยนที่ดิน หรือปรับรูปแบบบ้าน โดยช่วงแรกชุมชนจะเริ่มจากการจัดการน้ำ ก่อนขยายไปสู่ประเด็นที่ดิน ป่า การผลิต การเกษตร ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตามความพร้อม
ทั้งนี้ มีพื้นที่นำร่องที่ดำเนินการและเริ่มมีรูปธรรม อาทิ ต.เขวา จ.มหาสารคาม ต.คลองหินปูน จ.สระแก้ว ต.บัวใหญ่ จ.น่าน เป็นต้น