นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง หรือ กปน. กล่าวถึงคุณภาพน้ำประปาในขณะนี้ว่า ยังไม่ลดปริมาณสารเคมีและการเติมออกซิเจน เนื่องจากน้ำดิบยังด้อยคุณภาพ โดย กปน.จะเร่งแก้ปัญหาคุณภาพน้ำประปา เพื่อให้ใช้อุปโภคบริโภคได้ ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มอบเครื่องเติมออกซิเจนในน้ำดิบ มูลค่า 10 ล้านบาท สำหรับผลิตน้ำประปา โดยเป็นเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี เป็นการติดตั้งระบบการจ่ายออกซิเจนบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นครั้งแรกที่ใช้ในระบบการผลิตน้ำประปาในไทย นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับน้ำด้อยคุณภาพที่ขังอยู่ตามทุ่ง ดังนั้นในพื้นที่ภาคกลางตอนบนเริ่มลดลง
ทั้งนี้ กปน.เริ่มทดลองใช้ระบบนี้มาตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน พบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยเพิ่มค่าออกซิเจนในคลองประปา ได้ 86-90 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนี้ยืนยันคุณภาพน้ำประปายังเป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก หรือ WHO
ในวันนี้ กปน.ได้รับมอบเครื่องสูบน้ำ จำนวน 29 เครื่อง กำลังสูบ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และเครื่องเติมอากาศ จำนวน 4 ชุด ช่วยในการเติมอากาศ ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้ถึง 12,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง มูลค่า 6 ล้านบาท จากนายเซจิ โคอิจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า โดยนำเครื่องสูบน้ำและเครื่องเติมอากาศมาใช้ที่โรงงานผลิตน้ำบางเขน และคลองมหาสวัสดิ์ ในการกู้วิกฤตสถานการณ์น้ำช่วงที่ผ่านมา
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมร่วมมือแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำระยะยาวในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือไจก้า เจบิก และเจโทร โดยพูดคุยกับรัฐบาลในการทำแผนแม่บทฉบับใหม่ในการจัดการน้ำ หลังจากร่วมทำแผนแม่บทด้วยกันในปี 2542 ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ทั้งนี้ กปน.เริ่มทดลองใช้ระบบนี้มาตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน พบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยเพิ่มค่าออกซิเจนในคลองประปา ได้ 86-90 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนี้ยืนยันคุณภาพน้ำประปายังเป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก หรือ WHO
ในวันนี้ กปน.ได้รับมอบเครื่องสูบน้ำ จำนวน 29 เครื่อง กำลังสูบ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และเครื่องเติมอากาศ จำนวน 4 ชุด ช่วยในการเติมอากาศ ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้ถึง 12,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง มูลค่า 6 ล้านบาท จากนายเซจิ โคอิจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า โดยนำเครื่องสูบน้ำและเครื่องเติมอากาศมาใช้ที่โรงงานผลิตน้ำบางเขน และคลองมหาสวัสดิ์ ในการกู้วิกฤตสถานการณ์น้ำช่วงที่ผ่านมา
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมร่วมมือแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำระยะยาวในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือไจก้า เจบิก และเจโทร โดยพูดคุยกับรัฐบาลในการทำแผนแม่บทฉบับใหม่ในการจัดการน้ำ หลังจากร่วมทำแผนแม่บทด้วยกันในปี 2542 ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะยาว