กรีซ อินเดีย จีนและไทย คือเหล่าประเทศที่มีระบบเบี้ยบำนาญอ่อนแอที่สุดในโลก จากทั้งปัญหาภาระหนี้สินของประเทศ อายุเกษียณต่ำ สัดส่วนผู้รับเบี้ยบำนาญที่มากเกินไปเมื่อเทียบกับคนทำงานและเบี้ยบำนาญที่ยังไม่ดีพอ
รายงานผลศึกษา จัดทำโดยอัลลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส์ เพนชัน ซัสเทนอะบิลิตี อินเด็กซ์ ซึ่งติดตามความสัมพันธ์ต่อเนื่องของระบบภาษีชาติต่างๆจำนวน 44 ประเทศทั่วโลก พบว่ากรีซมีสัดส่วนจำนวนผู้ที่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญมาก เมื่อเทียบกับคนทำงานเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรป
อย่างไรก็ดี กรีซ มีพันธสัญญาในการปรับปรุงสัดส่วนดังกล่าวในแผนปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญ ตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งกำกับดูแลการให้เงินช่วยเหลือแก่กรีซ
ขณะที่ในอินเดีย จีนและไทย มีเพียงร้อยละ 12 จากประชากรทั้งหมดจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ แถมระบบเบี้ยบำนาญอันอ่อนแอของไทยยังถูกซ้ำเติมจากอายุเกษียณโดยเฉลี่ยที่ 55 ปี เมื่อเทียบกับ 65 ปีในประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป
รายงานผลศึกษา จัดทำโดยอัลลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส์ เพนชัน ซัสเทนอะบิลิตี อินเด็กซ์ ซึ่งติดตามความสัมพันธ์ต่อเนื่องของระบบภาษีชาติต่างๆจำนวน 44 ประเทศทั่วโลก พบว่ากรีซมีสัดส่วนจำนวนผู้ที่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญมาก เมื่อเทียบกับคนทำงานเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรป
อย่างไรก็ดี กรีซ มีพันธสัญญาในการปรับปรุงสัดส่วนดังกล่าวในแผนปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญ ตามข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งกำกับดูแลการให้เงินช่วยเหลือแก่กรีซ
ขณะที่ในอินเดีย จีนและไทย มีเพียงร้อยละ 12 จากประชากรทั้งหมดจ่ายเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ แถมระบบเบี้ยบำนาญอันอ่อนแอของไทยยังถูกซ้ำเติมจากอายุเกษียณโดยเฉลี่ยที่ 55 ปี เมื่อเทียบกับ 65 ปีในประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป