หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ในการใช้อีเอ็มบอลมาใช้บำบัดน้ำเน่าเสีย ในพื้นที่ประสบอุทกภัยว่า อาจไม่ช่วยปริมาณออกซิเจนในน้ำ และทำให้น้ำเน่าเสียมากขึ้น โดยยกตัวอย่างกรณีญี่ปุ่น ที่ไม่แนะนำให้ประชาชนได้ใช้บำบัดน้ำเสียช่วงเกิดสึนามิ
ขณะเดียวกันมีนักวิชาการบางกลุ่มออกมายืนยันว่า อีเอ็มบอลช่วยปรับคุณภาพน้ำได้จริง ทำให้เกิดความสงสัยในความเห็นที่ต่างกันของทั้งสองฝ่าย
ด้าน นายสุเมธา วิเชียรเพชร หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ.กล่าวว่า สูตรอีเอ็มที่ได้รับการยอมรับมานานกว่า 10 ปี คือ สูตร พด.6 ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ที่ในกระบวนการทำต้องรอให้กากน้ำตาลได้สลายก่อน หรือเซ็ทตัวได้ที่ โดยใช้เวลาถึง 15-45 วัน หลังจากที่หมักส่วนผสม จึงจะช่วงเวลาที่อีเอ็มมีประสิทธิภาพเต็มที่ เมื่อนำไปใช้จึงจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ดีที่สุด โดยมีผลการทดลองใช้อีเอ็มบอลที่ได้รับประสิทธิภาพมายืนยันคือ เมื่อปี 2549 มีน้ำเน่าบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย ใกล้บ่อขยะของกรุงเทพมหานคร บริเวณสถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง เขตลาดกระบัง แม้น้ำจะมีเค็มสูงถึง 12 พีพีที อีเอ็มสามารถบำบัดได้ด้วยการเติมซ้ำ 15 วัน
ขณะเดียวกันมีนักวิชาการบางกลุ่มออกมายืนยันว่า อีเอ็มบอลช่วยปรับคุณภาพน้ำได้จริง ทำให้เกิดความสงสัยในความเห็นที่ต่างกันของทั้งสองฝ่าย
ด้าน นายสุเมธา วิเชียรเพชร หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ.กล่าวว่า สูตรอีเอ็มที่ได้รับการยอมรับมานานกว่า 10 ปี คือ สูตร พด.6 ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ที่ในกระบวนการทำต้องรอให้กากน้ำตาลได้สลายก่อน หรือเซ็ทตัวได้ที่ โดยใช้เวลาถึง 15-45 วัน หลังจากที่หมักส่วนผสม จึงจะช่วงเวลาที่อีเอ็มมีประสิทธิภาพเต็มที่ เมื่อนำไปใช้จึงจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ดีที่สุด โดยมีผลการทดลองใช้อีเอ็มบอลที่ได้รับประสิทธิภาพมายืนยันคือ เมื่อปี 2549 มีน้ำเน่าบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย ใกล้บ่อขยะของกรุงเทพมหานคร บริเวณสถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง เขตลาดกระบัง แม้น้ำจะมีเค็มสูงถึง 12 พีพีที อีเอ็มสามารถบำบัดได้ด้วยการเติมซ้ำ 15 วัน