นายธงทอง จันทรางศุ โฆษกศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) แถลงว่า ศปภ.ได้ร่วมกับกองทัพไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเพื่ออพยพประชาชนออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากเกิดน้ำท่วมในระดับสูงตั้งแต่ 1-1.5เมตร ไปยังศูนย์พักพิงที่มีการเตรียมความพร้อมแล้วใน9จังหวัด ประกอบด้วย จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา นครนายก และสมุทรปราการ
อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวนี้เตรียมไว้รองรับกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุดเท่านั้น และยังไม่ได้ให้ปฏิบัติทันทีในขณะนี้ เพียงแต่แจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมความพร้อมเท่านั้น
สำหรับขั้นตอนการอพยพกรณีเกิดเหตุร้ายแรง ในชุมชนที่มีการวมตัวอยู่แล้ว ให้ประชุมปรึกษาหารือ กำหนดจุดรวมพล แล้วไปที่ถนนใหญ่เพื่อความสะดวกให้กองทัพจัดรถเข้าไปรับ ส่วนพื้นที่ซึ่งไม่เคยจัดตั้งเป็นชุมชนมาก่อน ยกตัวอย่างประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในย่านลาดพร้าว ให้ปรึกษาหารือกันในละแวกบ้าน เพื่อกำหนดจุดรวมพลเช่นเดียวกัน เตรียมความสะดวกในการอพยพ และเดินทางไปยังจุดที่สังเกตได้ง่าย และขอให้นำเอกสารสำคัญติดตัวไปด้วย
ศปภ.ขอย้ำว่า มาตราการดังกล่าวเป็นเพียงการเตรียมความพร้อม ยึดหลัก"เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด"มีขั้นตอนดังนี้
1.เฝ้าระวังสถานการณ์ ทางราชการจะแจ้งเตือนให้ทราบผ่านสื่อต่างๆ ขั้นตอนนี้ยังไม่อพยพแต่ให้เตรียมความพร้อม
2.เมื่อใกล้ถึงเวลาคับขัน ทางราชการจะแจ้งเตือนอีกครั้งให้เตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพ
3.เมื่อถึงใกล้ถึงเวลาที่เป็นอันตราย"ขอให้ประชาชนเดินทางไปยังจุดรวมพลที่เตรียมการเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ กองทัพไทยจะเป็นหน่วยงานหลักในการลำเลียงประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูง เช่นบ้านเรือนชั้นเดียว เพื่อไปยังที่แห้ง จากนั้นก.คมนามคมจะเข้ามารับผิดชอบนำผู้อพยพไปยังจังหวัด 9จังหวัดที่มีการเตรียมความพร้อมเอาไว้แล้ว คาดว่าจะต้องอยู่ในศูนย์พักพิงเป็นเวลาอย่างน้อย 15วัน-1เดือน ประชาชนที่ห่วงบ้านเรือนทรัพย์สิน ไม่ต้องกังวล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานปกครอง รับหน้าที่รับผิดชอบสอดส่องดูแล
อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวนี้เตรียมไว้รองรับกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุดเท่านั้น และยังไม่ได้ให้ปฏิบัติทันทีในขณะนี้ เพียงแต่แจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมความพร้อมเท่านั้น
สำหรับขั้นตอนการอพยพกรณีเกิดเหตุร้ายแรง ในชุมชนที่มีการวมตัวอยู่แล้ว ให้ประชุมปรึกษาหารือ กำหนดจุดรวมพล แล้วไปที่ถนนใหญ่เพื่อความสะดวกให้กองทัพจัดรถเข้าไปรับ ส่วนพื้นที่ซึ่งไม่เคยจัดตั้งเป็นชุมชนมาก่อน ยกตัวอย่างประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในย่านลาดพร้าว ให้ปรึกษาหารือกันในละแวกบ้าน เพื่อกำหนดจุดรวมพลเช่นเดียวกัน เตรียมความสะดวกในการอพยพ และเดินทางไปยังจุดที่สังเกตได้ง่าย และขอให้นำเอกสารสำคัญติดตัวไปด้วย
ศปภ.ขอย้ำว่า มาตราการดังกล่าวเป็นเพียงการเตรียมความพร้อม ยึดหลัก"เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด"มีขั้นตอนดังนี้
1.เฝ้าระวังสถานการณ์ ทางราชการจะแจ้งเตือนให้ทราบผ่านสื่อต่างๆ ขั้นตอนนี้ยังไม่อพยพแต่ให้เตรียมความพร้อม
2.เมื่อใกล้ถึงเวลาคับขัน ทางราชการจะแจ้งเตือนอีกครั้งให้เตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพ
3.เมื่อถึงใกล้ถึงเวลาที่เป็นอันตราย"ขอให้ประชาชนเดินทางไปยังจุดรวมพลที่เตรียมการเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ กองทัพไทยจะเป็นหน่วยงานหลักในการลำเลียงประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูง เช่นบ้านเรือนชั้นเดียว เพื่อไปยังที่แห้ง จากนั้นก.คมนามคมจะเข้ามารับผิดชอบนำผู้อพยพไปยังจังหวัด 9จังหวัดที่มีการเตรียมความพร้อมเอาไว้แล้ว คาดว่าจะต้องอยู่ในศูนย์พักพิงเป็นเวลาอย่างน้อย 15วัน-1เดือน ประชาชนที่ห่วงบ้านเรือนทรัพย์สิน ไม่ต้องกังวล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานปกครอง รับหน้าที่รับผิดชอบสอดส่องดูแล