บ้านเรือนประชาชน 3 ตำบล อ.กมลาไสย และ อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ถูกน้ำจากแม่น้ำชีเอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมสูงเกือบ 1 เมตร นานกว่า 1 เดือน เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตด้วยความลำบาก และเริ่มป่วยเป็นโรคที่มากับน้ำ จากการลงพื้นที่ของสาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ พบว่า ประชาชนป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า และโรคฉี่หนู ซึ่งในเดือนตุลาคม มีผู้ป่วยถึง 14 ราย
ระดับน้ำชีที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ ประกาศเตรียมอพยพชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย และ ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย เพราะมีการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ อีกกว่า 57 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะไหลลงมาในพื้นที่ช่วงค่ำวันนี้ จะส่งผลให้บ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมนั้นเสียหายมากขึ้น
ส่วนแม่น้ำมูลที่ไหลผ่าน จ.ศรีสะเกษ เอ่อล้นไหลท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เมือง ยางชุมน้อย และกันทรารมย์ โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ บ้านเรือนประชาชน 13 ชุมชน ถูกน้ำท่วมสูง และ ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ น้ำท่วม 4 หมู่บ้าน ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่บนที่สูง
ที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา พื้นที่รับน้ำจากการระบายน้ำของเขื่อนใน จ.นครราชสีมา ก่อนไหลลงแม่น้ำมูล เจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย ต้องเดินเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 บาน เพื่อเตรียมรับน้ำที่ไหลมาถึง ในวันที่ 29 ตุลาคม ซึ่งผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ ยืนยันว่า แม้น้ำเหนือจะไหลมาสมทบ แต่ไม่ทำให้น้ำไหลท่วมพื้นที่เศรษฐกิจชั้นใน และโบราณสถาน แต่น้ำจะท่วมพื้นที่ลุ่ม 6 ตำบล และระดับน้ำท่วมจะสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
ส่วนที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำจากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล ขณะนี้ระดับน้ำยังล้นตลิ่งอยู่ที่ 2.81 เมตร ทำให้น้ำท่วมขังชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูล เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ จำนวน 42 ชุมชน ยังถูกน้ำท่วมสูง ประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ กว่า 2,000 ครอบครัว เจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำใกล้ชิด ป้องกันน้ำไหลท่วมเขตเศรษฐกิจ
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล ยังส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้สินค้าบางประเภทในบางจังหวัดขาดตลาด
ส่วนท่าอากาศยาน จ.บุรีรัมย์ ต้องปิดให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน เนื่องจากรันเวย์สนามบินดอนเมืองถูกน้ำท่วม ทำให้สายการบินงดให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์
ทั้งนี้ 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ถูกน้ำท่วมขณะนี้ ทั้งหมดเป็นพื้นที่ลุ่มติดลำน้ำ โดยพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ คือ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำชีและน้ำมูล คาดว่าปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลมารวมกันในช่วงสัปดาห์หน้า
ระดับน้ำชีที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ ประกาศเตรียมอพยพชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย และ ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย เพราะมีการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ อีกกว่า 57 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะไหลลงมาในพื้นที่ช่วงค่ำวันนี้ จะส่งผลให้บ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมนั้นเสียหายมากขึ้น
ส่วนแม่น้ำมูลที่ไหลผ่าน จ.ศรีสะเกษ เอ่อล้นไหลท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เมือง ยางชุมน้อย และกันทรารมย์ โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ บ้านเรือนประชาชน 13 ชุมชน ถูกน้ำท่วมสูง และ ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ น้ำท่วม 4 หมู่บ้าน ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่บนที่สูง
ที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา พื้นที่รับน้ำจากการระบายน้ำของเขื่อนใน จ.นครราชสีมา ก่อนไหลลงแม่น้ำมูล เจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย ต้องเดินเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 บาน เพื่อเตรียมรับน้ำที่ไหลมาถึง ในวันที่ 29 ตุลาคม ซึ่งผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ ยืนยันว่า แม้น้ำเหนือจะไหลมาสมทบ แต่ไม่ทำให้น้ำไหลท่วมพื้นที่เศรษฐกิจชั้นใน และโบราณสถาน แต่น้ำจะท่วมพื้นที่ลุ่ม 6 ตำบล และระดับน้ำท่วมจะสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
ส่วนที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำจากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล ขณะนี้ระดับน้ำยังล้นตลิ่งอยู่ที่ 2.81 เมตร ทำให้น้ำท่วมขังชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูล เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ จำนวน 42 ชุมชน ยังถูกน้ำท่วมสูง ประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ กว่า 2,000 ครอบครัว เจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำใกล้ชิด ป้องกันน้ำไหลท่วมเขตเศรษฐกิจ
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล ยังส่งผลต่อการขนส่งสินค้ามายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้สินค้าบางประเภทในบางจังหวัดขาดตลาด
ส่วนท่าอากาศยาน จ.บุรีรัมย์ ต้องปิดให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน เนื่องจากรันเวย์สนามบินดอนเมืองถูกน้ำท่วม ทำให้สายการบินงดให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์
ทั้งนี้ 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ถูกน้ำท่วมขณะนี้ ทั้งหมดเป็นพื้นที่ลุ่มติดลำน้ำ โดยพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ คือ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดรวมน้ำชีและน้ำมูล คาดว่าปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลมารวมกันในช่วงสัปดาห์หน้า