บรรดารัฐมนตรีคลังของยุโรป แสดงท่าทีจะให้พวกธนาคารทั้งหลายที่ถือครองตราสารหนี้ของรัฐบาลกรีซอยู่ ต้องยอมแบกรับภาระขาดทุนเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยตกลงกันไว้ แถมยังบอกเลื่อนการตัดสินใจปล่อยเงินกู้งวดต่อไปให้แก่เอเธนส์ออกไปจนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำเอาวิกฤตหนี้สินภาคสาธารณะของยูโรโซนยิ่งเขม็งเกลียวตึงเครียด และตลาดการเงินต่างยิ่งย่ำแย่ รวมทั้งราคาน้ำมันดิบก็ถอยหลัง กระทั่งน้ำมันดิบชนิดเบรนต์อยู่ต่ำกว่าระดับจิตวิทยาที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว
รัฐมนตรีคลังของ 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู) มีกำหนดเปิดประชุมกันเมื่อวันจันทร์(4) ภายหลังที่พวกรัฐมนตรีคลังอียูเฉพาะที่ใช้เงินตราสกุลยูโร หรือ “ยูโรโซน” จำนวน 17 ชาติหารือกันในวันจันทร์(3) โดยที่ ฌอง-โคลด จุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังลักเซมเบิร์ก ในฐานะประธานของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน แถลงในวันจันทร์ว่า ขุนคลังเหล่านี้กำลังพิจารณาทบทวนกันอีกครั้ง เกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบของภาคเอกชน ในแผนการปล่อยกู้ช่วยเหลือกรีซไม่ให้ตกลงสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้ก้อนที่ 2 มูลค่า 109,000 ล้านยูโร สืบเนื่องจากเวลานี้ยอดเงินช่วยเหลือก้อนที่ 2 ดังกล่าวก็ดูจะไม่เพียงพอแล้ว ภายหลังรัฐบาลกรีซออกมายอมรับว่า จะยังไม่สามารถทำตามเป้าหมายตัดลดการขาดดุลต่างๆ ตามที่ได้ตกลงเอาไว้กับพวกเจ้าหนี้อย่างอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ตามข้อตกลงเรื่องแผนปล่อยกู้ช่วยกรีซก้อนที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภาคเอกชนที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ยินยอมที่จะลดภาระและขยายเวลาชำระคืน ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นการลดหนี้ให้แก่เอเธนส์ประมาณ 21% ขณะที่พวกรัฐบาลชาติยูโรโซน ก็จะช่วยออกเงินกู้ในก้อนที่ 2 ดังกล่าว
จุงก์เกอร์แถลงว่า เวลานี้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกรีซ และสถานการณ์ด้านการขาดดุลของประเทศนี้ กำลังย่ำแย่ลงอีก ข้อตกลงเดือนกรกฎาคมนี้จึงต้องทบทวนกันใหม่
เขาไม่ได้ระบุว่า ชาติยูโรโซนจะให้พวกภาคเอกชนซึ่งส่วนใหญ่ก็คือธนาคารของยุโรป ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่ก่อนหน้านี้มีมีอ้างแหล่งข่าวระบุกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้เหล่านี้อาจจะต้องยอมตัดลดหนี้ให้แก่กรีซถึงระดับ 50% ทีเดียว
รัฐมนตรีคลังของ 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู) มีกำหนดเปิดประชุมกันเมื่อวันจันทร์(4) ภายหลังที่พวกรัฐมนตรีคลังอียูเฉพาะที่ใช้เงินตราสกุลยูโร หรือ “ยูโรโซน” จำนวน 17 ชาติหารือกันในวันจันทร์(3) โดยที่ ฌอง-โคลด จุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังลักเซมเบิร์ก ในฐานะประธานของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน แถลงในวันจันทร์ว่า ขุนคลังเหล่านี้กำลังพิจารณาทบทวนกันอีกครั้ง เกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบของภาคเอกชน ในแผนการปล่อยกู้ช่วยเหลือกรีซไม่ให้ตกลงสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้ก้อนที่ 2 มูลค่า 109,000 ล้านยูโร สืบเนื่องจากเวลานี้ยอดเงินช่วยเหลือก้อนที่ 2 ดังกล่าวก็ดูจะไม่เพียงพอแล้ว ภายหลังรัฐบาลกรีซออกมายอมรับว่า จะยังไม่สามารถทำตามเป้าหมายตัดลดการขาดดุลต่างๆ ตามที่ได้ตกลงเอาไว้กับพวกเจ้าหนี้อย่างอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ตามข้อตกลงเรื่องแผนปล่อยกู้ช่วยกรีซก้อนที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภาคเอกชนที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ยินยอมที่จะลดภาระและขยายเวลาชำระคืน ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นการลดหนี้ให้แก่เอเธนส์ประมาณ 21% ขณะที่พวกรัฐบาลชาติยูโรโซน ก็จะช่วยออกเงินกู้ในก้อนที่ 2 ดังกล่าว
จุงก์เกอร์แถลงว่า เวลานี้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกรีซ และสถานการณ์ด้านการขาดดุลของประเทศนี้ กำลังย่ำแย่ลงอีก ข้อตกลงเดือนกรกฎาคมนี้จึงต้องทบทวนกันใหม่
เขาไม่ได้ระบุว่า ชาติยูโรโซนจะให้พวกภาคเอกชนซึ่งส่วนใหญ่ก็คือธนาคารของยุโรป ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่ก่อนหน้านี้มีมีอ้างแหล่งข่าวระบุกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้เหล่านี้อาจจะต้องยอมตัดลดหนี้ให้แก่กรีซถึงระดับ 50% ทีเดียว