นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สำหรับการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่า มีเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถึง 200,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุ ระหว่าง 15-24 ปี ส่วนยาเสพติดที่แพร่ระบาดหลักๆ คือ น้ำกระท่อม ต้มผสมกับสารเสพติดอื่นๆ หรือ ที่เรียกว่า "สี่คูณร้อย" รวมทั้งยาบ้า และกัญชา และส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในสถานบำบัดของภาครัฐ
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้พัฒนามัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน ให้เป็นศูนย์ฟื้นฟูผู้เสพติดประจำอำเภอ เป็น "ศูนย์ใกล้บ้านใกล้ใจ" เป็นทางเลือกหนึ่งให้ผู้เสพยาเสพติด โดยใช้ชื่อว่า "มัสยิดศูนย์ส่องทางสู่ชีวิตใหม่" โดยให้โรงพยาบาลชุมชนเป็นพี่เลี้ยง และให้ อสม.ติดตามผลการบำบัด มีรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและวิถีชุมชนของชาวไทยมุสลิม โดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2552 มีมัสยิด ใน จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์บำบัด จำนวน 13 แห่ง มีเยาวชนเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู 757 คน และพบว่า กว่าร้อยละ 93 หลังบำบัด ไม่กลับไปใช้ยาและสารเสพติดซ้ำ ตั้งเป้าภายในปี 2555 ขยายผลมัสยิดไปทุกอำเภอ
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้พัฒนามัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน ให้เป็นศูนย์ฟื้นฟูผู้เสพติดประจำอำเภอ เป็น "ศูนย์ใกล้บ้านใกล้ใจ" เป็นทางเลือกหนึ่งให้ผู้เสพยาเสพติด โดยใช้ชื่อว่า "มัสยิดศูนย์ส่องทางสู่ชีวิตใหม่" โดยให้โรงพยาบาลชุมชนเป็นพี่เลี้ยง และให้ อสม.ติดตามผลการบำบัด มีรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและวิถีชุมชนของชาวไทยมุสลิม โดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2552 มีมัสยิด ใน จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์บำบัด จำนวน 13 แห่ง มีเยาวชนเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู 757 คน และพบว่า กว่าร้อยละ 93 หลังบำบัด ไม่กลับไปใช้ยาและสารเสพติดซ้ำ ตั้งเป้าภายในปี 2555 ขยายผลมัสยิดไปทุกอำเภอ