นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศอส. เปิดเผยว่า จังหวัดที่ประสบอุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน ทั้งสิ้น 36 จังหวัด ปัจจุบันยังมีสถานการณ์อุทกภัยใน 13 จังหวัด 57 อำเภอ 366 ตำบล 2,116 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 196,869 ครัวเรือน 592,070 คน เสียชีวิต 49 คน สูญหาย 1 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 3,347,204 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เสียหาย 45,931 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 2,060,000 ตัว
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านใน 19 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เตรียมป้องกันอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
ทั้งนี้ ศอส.เน้นย้ำให้จังหวัดที่ประสบภัย ดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยปรับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจของจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นศูนย์บูรณาการ ทำงานในรูปแบบวันสต็อปเซอร์วิส และกำชับให้ประสานสาธารณสุขจังหวัด จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงเฝ้าระวังโรคระบาดในช่วงน้ำท่วม เพื่อไม่ให้โรคภัยซ้ำเติมผู้ประสบภัย
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านใน 19 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เตรียมป้องกันอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
ทั้งนี้ ศอส.เน้นย้ำให้จังหวัดที่ประสบภัย ดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยปรับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจของจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นศูนย์บูรณาการ ทำงานในรูปแบบวันสต็อปเซอร์วิส และกำชับให้ประสานสาธารณสุขจังหวัด จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงเฝ้าระวังโรคระบาดในช่วงน้ำท่วม เพื่อไม่ให้โรคภัยซ้ำเติมผู้ประสบภัย