นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษ "มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ผ่านสายตาผู้ว่าแบงก์ชาติ" โดยระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดูแลเศรษฐกิจ เพราะมีเป้าหมายให้เติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง โดยมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพด้านราคา ความมั่นคง และมีประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบชำระเงิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน แต่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจควรมองระยะยาว ไม่ควรหวังผลระยะสั้นเพราะอาจทำให้เกิดปัญหา
นายประสาร กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ยังมีแรงส่งต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ในภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.1 ในปีนี้ และร้อยละ 4.2 ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นการเติบโตใกล้ระดับเต็มศักยภาพแล้ว เห็นจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว และมีแรงกดดันต่อต้นทุนและราคาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายที่อยู่รอบด้าน คือปัญหาการฟื้นตัวเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G3 คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะยังชะลอตัวต่อไป และอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกของไทย
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะหากยังใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจระหว่างการออมและการใช้จ่าย ดังนั้นที่ผ่านมา จึงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอความร้อนแรงการขยายตัวของเศรษฐกิจ และดูแลอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายจากเงินทุนเคลื่อนย้ายและค่าเงินบาทที่ผันผวนด้วย
นายประสาร กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ยังมีแรงส่งต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ในภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.1 ในปีนี้ และร้อยละ 4.2 ในปีหน้า ซึ่งถือเป็นการเติบโตใกล้ระดับเต็มศักยภาพแล้ว เห็นจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว และมีแรงกดดันต่อต้นทุนและราคาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายที่อยู่รอบด้าน คือปัญหาการฟื้นตัวเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G3 คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะยังชะลอตัวต่อไป และอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกของไทย
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะหากยังใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจระหว่างการออมและการใช้จ่าย ดังนั้นที่ผ่านมา จึงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอความร้อนแรงการขยายตัวของเศรษฐกิจ และดูแลอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายจากเงินทุนเคลื่อนย้ายและค่าเงินบาทที่ผันผวนด้วย