นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยมีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(อุทกภัย) 24 จังหวัด 228 อำเภอ 1,551 ตำบล 12,787 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 755,810 ครัวเรือน 2,645,537 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 323 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดจะได้รับความเสียหาย 1,826,053 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 28 ราย (พิจิตร 1 ราย ตาก 1 ราย เชียงใหม่ 2 ราย แพร่ 7 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย สุโขทัย 4 ราย ตาก 1 ราย สกลนคร 1 ราย นครพนม 2 ราย ร้อยเอ็ด 2 ราย อุดรธานี 1 ราย) สูญหาย 1 คน จากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร ประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 10 จังหวัด รวม 44 อำเภอ 317 ตำบล 2,263 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 159,924 ครัวเรือน 311,140 คน ได้แก่ สุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี
เบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ปภ.จะประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร ประจวบคีรีขันธ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 10 จังหวัด รวม 44 อำเภอ 317 ตำบล 2,263 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 159,924 ครัวเรือน 311,140 คน ได้แก่ สุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี
เบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน รวมถึงสนับสนุนเครื่องจักรกล เรือท้องแบน รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำออกให้บริการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว พร้อมจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง ปภ.จะประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนต่อไป