รศ.ดร.สาโรช อังสุมาลิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาราคาหมูแพง ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนใหม่ ควรเร่งเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายสุกรและผลิตภัณฑ์ หรือ Pig Board เพื่อปรับปรุงนโยบายการผลิต และออกมาตรการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อย อย่างเข้มข้น
หลังจากปัญหาโรคระบาดหมู ตั้งแต่ปี 2550 ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยเลิกกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30-40 ส่งผลให้เหลือเพียงบริษัทเกษตรรายใหญ่เท่านั้น พร้อมประเมินว่า ราคาควบคุมหมูอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว แต่ควรติดตามสถานการณ์ราคาต้นทุนการผลิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันกระบวนการค้าที่ผิดปกติ
รศ.น.สพ.กิจจา อุไรรงค์ รองคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประเมินว่า สถานการณ์ราคาเนื้อหมูแพง อาจคลี่คลายช่วงปลายปีนี้ ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับพฤติกรรม เพื่อบรรเทาภาระดังกล่าว เช่น บริโภคเนื้อไก่ และเนื้อปลา ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินนโยบายลดต้นทุนการผลิต และใช้วัคซีนป้องกัน รวมทั้งควบคุมฟาร์มเลี้ยงทั่วประเทศ เพื่อลดโอกาสสูญเสียแม่พันธุ์ และลูกหมูขุน
หลังจากปัญหาโรคระบาดหมู ตั้งแต่ปี 2550 ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยเลิกกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30-40 ส่งผลให้เหลือเพียงบริษัทเกษตรรายใหญ่เท่านั้น พร้อมประเมินว่า ราคาควบคุมหมูอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว แต่ควรติดตามสถานการณ์ราคาต้นทุนการผลิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันกระบวนการค้าที่ผิดปกติ
รศ.น.สพ.กิจจา อุไรรงค์ รองคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประเมินว่า สถานการณ์ราคาเนื้อหมูแพง อาจคลี่คลายช่วงปลายปีนี้ ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับพฤติกรรม เพื่อบรรเทาภาระดังกล่าว เช่น บริโภคเนื้อไก่ และเนื้อปลา ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินนโยบายลดต้นทุนการผลิต และใช้วัคซีนป้องกัน รวมทั้งควบคุมฟาร์มเลี้ยงทั่วประเทศ เพื่อลดโอกาสสูญเสียแม่พันธุ์ และลูกหมูขุน