หลังจากที่ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น เฉลี่ย 140-150 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยผู้เลี้ยงสุกรอ้างว่า ได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศ และต้นทุนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณสุกรลดลงกว่า 20%
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน ยอมรับว่า ราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับต้นทุนของผู้เลี้ยงสุกรที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาโรคระบาด และสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยราคาสุกรหน้าฟาร์ม เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 78-79 บาท ส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อหมูในตลาดสด อยู่ที่ 140-150 บาทต่อกิโลกรัม แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชน กรมการค้าภายใน จะเดินหน้าจัดโครงการธงฟ้า ที่เหลืออีก 300 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งจะจำหน่ายเนื้อหมูธงฟ้า ราคากิโลกรัมละ 120 บาท
สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลใหม่ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปีหน้าสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 3.2-3.7% โดยยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าบางรายการ เช่น หมวดอาหาร ก่อสร้าง ซึ่งอาจจะต้องปรับขึ้นราคา แต่เชื่อว่าการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้า จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การปรับขึ้นราคาสินค้าไม่สูงจนเกินไป และน่าจะรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อทั้งปีได้ตามเป้าหมาย
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน ยอมรับว่า ราคาเนื้อหมูที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับต้นทุนของผู้เลี้ยงสุกรที่ปรับสูงขึ้นจากปัญหาโรคระบาด และสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยราคาสุกรหน้าฟาร์ม เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 78-79 บาท ส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อหมูในตลาดสด อยู่ที่ 140-150 บาทต่อกิโลกรัม แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชน กรมการค้าภายใน จะเดินหน้าจัดโครงการธงฟ้า ที่เหลืออีก 300 ครั้งทั่วประเทศ ซึ่งจะจำหน่ายเนื้อหมูธงฟ้า ราคากิโลกรัมละ 120 บาท
สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลใหม่ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปีหน้าสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 3.2-3.7% โดยยอมรับว่า การปรับขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าบางรายการ เช่น หมวดอาหาร ก่อสร้าง ซึ่งอาจจะต้องปรับขึ้นราคา แต่เชื่อว่าการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้า จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การปรับขึ้นราคาสินค้าไม่สูงจนเกินไป และน่าจะรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อทั้งปีได้ตามเป้าหมาย