นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มผู้รับจ้างมีการรวมตัวกัน เพื่อต่อรองค่าแรงเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งจากเดิมจ้างวันละ 200 บาท พร้อมกับข้าว 1 มื้อ โดยชาวนาผู้ปลูกข้าวไม่สามารถกำหนดต้นทุน หรือราคาสินค้าได้เหมือนกับรูปแบบโรงงานหรือบริษัท ทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้ลดลง ซึ่งอาจจะไม่มีเงินจ้างแรงงานเข้ามาช่วย และสุดท้ายอาจเก็บเกี่ยวไม่ทันจนกระทบถึงผลผลิตที่ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
ด้านนายอนุเดช เชี่ยวชาญวลิชกิจนายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงปลานิลและเป็ดเนื้ออย่างครบวงจร กล่าวว่า กรณีดังกล่าวจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างอัตราค่าจ้างแรงงานเก่า กับแรงงานใหม่ โดยค่าจ้างแรงงานในปัจจุบันอยู่ที่วันละกว่า 200 บาท นอกจากนี้ หากแรงงานใหม่ได้เท่ากันวันละ 300 บาททุกประเภท ไม่แยกแรงงานฝีมือกับแรงงานที่ไม่มีประสบการณ์ จะมีผลกระทบอย่างมาก เพราะแรงงานใหม่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน กลับได้ค่าแรงมากกว่าแรงงานเก่า
ด้านนายอนุเดช เชี่ยวชาญวลิชกิจนายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงปลานิลและเป็ดเนื้ออย่างครบวงจร กล่าวว่า กรณีดังกล่าวจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างอัตราค่าจ้างแรงงานเก่า กับแรงงานใหม่ โดยค่าจ้างแรงงานในปัจจุบันอยู่ที่วันละกว่า 200 บาท นอกจากนี้ หากแรงงานใหม่ได้เท่ากันวันละ 300 บาททุกประเภท ไม่แยกแรงงานฝีมือกับแรงงานที่ไม่มีประสบการณ์ จะมีผลกระทบอย่างมาก เพราะแรงงานใหม่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน กลับได้ค่าแรงมากกว่าแรงงานเก่า