เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ยืนยันคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่สั่งให้ประเทศไทยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 36 ล้านยูโร และแสดงความคาดหวังให้ประเทศไทยชำระเงินดังกล่าว เพื่อเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเยอรมัน และจากประเทศอื่นๆ ในประเทศไทยอีกครั้ง และจะส่งสัญญาณทางบวกสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนี-ไทย ต่อไปด้วย
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า กระบวนการตัดสินของอนุญาโตตุลาการที่นิวยอร์กเป็นไปเพื่อร้องขอคำตัดสินว่า การบังคับคดีในเรื่องนี้สามารถกระทำในสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งจะไม่มีการสืบพยานใดเพิ่มเติมอีก ที่จะทำให้ประเทศไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำตัดสินได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลเมืองลานด์ชูต ใกล้เมืองมิวนิก ได้มีคำตัดสินให้ถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 โดยมีเงื่อนไขคือ ทางการไทยต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันธนาคาร มูลค่า 20 ล้านยูโร แต่รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะไม่นำเงินประกันไปแลกกับการนำเครื่องบินออกมาจากสภาพการถูกอายัด การสืบพยานที่ศาลประจำรัฐเมืองลานด์ชูต จะมีขึ้นอีกครั้งประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม และยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหลายจะสิ้นสุดเมื่อไร
โบอิ้ง 737 ถูกอายัด หลังจากคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อกลางปี 2552 ว่า รัฐบาลไทยต้องจ่ายค่าเสียหายชดเชยให้กับบริษัท วอลเตอร์ บาว ซึ่งคำตัดสินถือเป็นสิ้นสุด
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า กระบวนการตัดสินของอนุญาโตตุลาการที่นิวยอร์กเป็นไปเพื่อร้องขอคำตัดสินว่า การบังคับคดีในเรื่องนี้สามารถกระทำในสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งจะไม่มีการสืบพยานใดเพิ่มเติมอีก ที่จะทำให้ประเทศไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำตัดสินได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลเมืองลานด์ชูต ใกล้เมืองมิวนิก ได้มีคำตัดสินให้ถอนอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 โดยมีเงื่อนไขคือ ทางการไทยต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันธนาคาร มูลค่า 20 ล้านยูโร แต่รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะไม่นำเงินประกันไปแลกกับการนำเครื่องบินออกมาจากสภาพการถูกอายัด การสืบพยานที่ศาลประจำรัฐเมืองลานด์ชูต จะมีขึ้นอีกครั้งประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม และยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหลายจะสิ้นสุดเมื่อไร
โบอิ้ง 737 ถูกอายัด หลังจากคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อกลางปี 2552 ว่า รัฐบาลไทยต้องจ่ายค่าเสียหายชดเชยให้กับบริษัท วอลเตอร์ บาว ซึ่งคำตัดสินถือเป็นสิ้นสุด