นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้เป็นฤดูกาลเพาะปลูก กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยสุขภาพเกษตรกร จากการนำสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาใช้จำนวนมาก และเกิดอันตรายตามมาจากการใช้ไม่ถูกวิธี โดยตั้งแต่ปี 2543-2552 พบผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,996 ราย เฉพาะในปี 2552 มีรายงาน 1,691 ราย ไม่มีเสียชีวิต ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยพบที่ภาคเหนือมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยมากสุด ได้แก่ กำแพงเพชร และกลุ่มอายุ 55-64 ปี มีการเจ็บป่วยมากที่สุด
นายแพทย์สุพรรณ ยังกล่าวถึงการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่า เกษตรกรควรใช้อย่างถูกวิธีตามฉลากกำหนด สวมเสื้อผ้า หน้ากาก ถุงมือ รองเท้าให้มิดชิดทุกครั้งระหว่างการผสม การฉีดพ่นสารเคมี และอาบน้ำทันทีหลังฉีดพ่นเสร็จ ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชขณะลมแรงหรือมีฝนตก เนื่องจากจะมีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับสารเคมี และระหว่างฉีดควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ การเก็บสารเคมีต้องให้ห่างไกลเด็กเล็ก และไม่ควรนำภาชนะบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุน้ำดื่มหรือใส่อาหารเพื่อรับประทาน เพราะสารเคมีอาจปนเปื้อนในน้ำและอาหารได้
นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่ออีกว่า หากมีสารเคมีเปื้อนที่ผิวหนัง ให้ใช้น้ำสะอาดล้างอย่างน้อย 15 นาที และรีบอาบน้ำ ฟอกสบู่เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังจากฉีดพ่น หากมีอาการผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นหลังฉีดพ่นสารเคมีทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมง เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดท้อง คัน ระคายเคืองผิวหนัง มีผื่นแดง ปวดศีรษะ มึนงง เหงื่อออก น้ำตาไหลผิดปกติ กล้ามเนื้อบิดเกร็ง มีน้ำลายมาก พูดไม่ชัด คลื่นไส้ อาเจียน ให้หยุดใช้สารเคมี และรีบไปพบแพทย์ ควรจดจำชื่อสารเคมี หรือนำขวดหรือภาชนะบรรจุสารเคมีไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาของแพทย์
นายแพทย์สุพรรณ ยังกล่าวถึงการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่า เกษตรกรควรใช้อย่างถูกวิธีตามฉลากกำหนด สวมเสื้อผ้า หน้ากาก ถุงมือ รองเท้าให้มิดชิดทุกครั้งระหว่างการผสม การฉีดพ่นสารเคมี และอาบน้ำทันทีหลังฉีดพ่นเสร็จ ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชขณะลมแรงหรือมีฝนตก เนื่องจากจะมีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับสารเคมี และระหว่างฉีดควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ การเก็บสารเคมีต้องให้ห่างไกลเด็กเล็ก และไม่ควรนำภาชนะบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุน้ำดื่มหรือใส่อาหารเพื่อรับประทาน เพราะสารเคมีอาจปนเปื้อนในน้ำและอาหารได้
นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่ออีกว่า หากมีสารเคมีเปื้อนที่ผิวหนัง ให้ใช้น้ำสะอาดล้างอย่างน้อย 15 นาที และรีบอาบน้ำ ฟอกสบู่เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังจากฉีดพ่น หากมีอาการผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นหลังฉีดพ่นสารเคมีทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมง เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดท้อง คัน ระคายเคืองผิวหนัง มีผื่นแดง ปวดศีรษะ มึนงง เหงื่อออก น้ำตาไหลผิดปกติ กล้ามเนื้อบิดเกร็ง มีน้ำลายมาก พูดไม่ชัด คลื่นไส้ อาเจียน ให้หยุดใช้สารเคมี และรีบไปพบแพทย์ ควรจดจำชื่อสารเคมี หรือนำขวดหรือภาชนะบรรจุสารเคมีไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาของแพทย์