วันนี้ (20 ก.ค.) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ได้ระดมความเห็นเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ โดยมองว่า เป็นต้นทุนสำคัญของภาคธุรกิจ ซึ่งภาคเอกชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากกระทบเศรษฐกิจของประเทศ โดยการปรับค่าจ้างควรเป็นไปตามกลไก และอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
นอกจากนี้ อาจส่งผลให้ราคาสินค้าปรับขึ้นประมาณ 10% ส่งผลกระทบระยะยาวคือ ไทยจะสูญเสียความสามารถในการดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยประมาณปีละ 400,000 ล้านบาท โดยอาจปรับลดลงประมาณ 25% หรือ 1 แสนล้านบาท ทั้งนี้ กกร.เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการเยียวยา หรือรองรับคนตกงานในอนาคต และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงในแต่ละพื้นที่ด้วย
ขณะที่ นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี.เค.การ์เม้นท์ กล่าวว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท แม้จะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่แรงงานระดับล่างเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ต่างจากต้นทุนอื่นๆ เช่นราคาน้ำมันที่ไทยต้องเสียเงินให้ต่างชาติ นอกจากนี้ เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจะแข่งขันกันเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้า ขณะที่ประชาชนจะมีกำลังซื้อ ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ อาจส่งผลให้ราคาสินค้าปรับขึ้นประมาณ 10% ส่งผลกระทบระยะยาวคือ ไทยจะสูญเสียความสามารถในการดึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยประมาณปีละ 400,000 ล้านบาท โดยอาจปรับลดลงประมาณ 25% หรือ 1 แสนล้านบาท ทั้งนี้ กกร.เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการเยียวยา หรือรองรับคนตกงานในอนาคต และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงในแต่ละพื้นที่ด้วย
ขณะที่ นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี.เค.การ์เม้นท์ กล่าวว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท แม้จะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่แรงงานระดับล่างเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ต่างจากต้นทุนอื่นๆ เช่นราคาน้ำมันที่ไทยต้องเสียเงินให้ต่างชาติ นอกจากนี้ เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจะแข่งขันกันเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้า ขณะที่ประชาชนจะมีกำลังซื้อ ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ