สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดโครงการปลูกหวายและอนุรักษ์ฟื้นฟูหวายพันธุ์พื้นเมือง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เยี่ยมเยียนราษฎรที่โรงเรียนบ้านดอนตัน ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทรงทราบว่า ราษฎรในพื้นที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพจักสาน ผลิตภัณฑ์จากหวาย แต่ขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งนำเข้าหวายจากประเทศเพื่อนบ้าน ทรงดำริ ให้ทางจังหวัดน่าน ดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์หวายขึ้นใหม่ในพื้นที่จังหวัดน่าน
ทางจังหวัดน่านจึงได้เตรียมส่งเสริมการปลูกหวายป่าชุมชน ในพื้นที่ บ้านแหน หมู่ที่ 1 ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จำนวน 16,799 ต้น มีเนื้อที่ในการปลูก 84 ไร่ โดยจะเริ่มทำการปลูกในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 โดยมี พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี จะเดินทางเป็นประธานในการปลูก
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ประชาชนชาวน่านส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร หลังจากว่างเว้นจากการทำงาน จะใช้เวลาว่างประกอบอาชีพเสริม ด้วยการจักสานสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ได้เป็นอย่างดี โดยจะใช้หวายพันธุ์พื้นเมืองน่าน 4 พันธุ์ ได้แก่ หวายบุญ หวายหอม หวายน้ำข้าว และหวายหนามเขียว ซึ่งแต่ละพันธุ์สามารถนำมาดัดแปลง เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตามลักษณะคุณสมบัติของหวาย อาทิ เปลนอน โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ตะกร้า กระบุง กระจาด และอื่นๆ จนสามารถส่งออกสร้างรายได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มว่า การส่งออกจะสูงขึ้น ฉะนั้น การส่งเสริมการปลูกป่าหวาย จะเป็นพืชเศรษฐกิจอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนชาวน่าน
ทางจังหวัดน่านจึงได้เตรียมส่งเสริมการปลูกหวายป่าชุมชน ในพื้นที่ บ้านแหน หมู่ที่ 1 ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จำนวน 16,799 ต้น มีเนื้อที่ในการปลูก 84 ไร่ โดยจะเริ่มทำการปลูกในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 โดยมี พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี จะเดินทางเป็นประธานในการปลูก
นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ประชาชนชาวน่านส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร หลังจากว่างเว้นจากการทำงาน จะใช้เวลาว่างประกอบอาชีพเสริม ด้วยการจักสานสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ได้เป็นอย่างดี โดยจะใช้หวายพันธุ์พื้นเมืองน่าน 4 พันธุ์ ได้แก่ หวายบุญ หวายหอม หวายน้ำข้าว และหวายหนามเขียว ซึ่งแต่ละพันธุ์สามารถนำมาดัดแปลง เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตามลักษณะคุณสมบัติของหวาย อาทิ เปลนอน โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ตะกร้า กระบุง กระจาด และอื่นๆ จนสามารถส่งออกสร้างรายได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มว่า การส่งออกจะสูงขึ้น ฉะนั้น การส่งเสริมการปลูกป่าหวาย จะเป็นพืชเศรษฐกิจอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนชาวน่าน