นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่หน่วยงานวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมอง และอาจก่อให้เกิดมะเร็งในสมองได้ ว่า ในประเทศไทยจากการเก็บสถิติผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะความผิดปกติของเยื่อหุ้มสมอง เนื้อร้ายในระบบประสาท และสมองส่วนกลาง รวมทั้งเนื้องอกในสมอง อายุระหว่าง 15- 59 ปี พบในปี 2552 มีผู้เสียชีวิต 1,857 คน และปี 2553 พบป่วยเพิ่มเป็น 2,000 คน สำหรับสถานการณ์ของโรคมะเร็งและเนื้องอกในสมอง พบเด็กป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ยังไม่มีการหาสาเหตุการป่วยที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามได้มีการเฝ้าระวังเรื่องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และให้ลดเวลาในการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ก่อน เนื่องจากพบว่ามีส่วนในการก่อให้เกิดเนื้องอกในสมองได้ ยิ่งโทรศัพท์เทคโนโลยีสูงก็ยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น
แพทย์หญิงสายพิน ตั้งครัชต์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรังสีรักษา สถาบันมะเร็ง กล่าวว่า ปกติมะเร็งและเนื้องอกในสมองพบสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ พันธุกรรม โดยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมีความผิดปกติทางยีนถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ พบความผิดปกติได้ตั้งแต่วัย 3 เดือน ถึง 1 ขวบ และอีกสาเหตุคือปัจจัยอื่นๆ อาทิ รังสีต่างๆ และอาหาร ซึ่งที่หลายคนกังวลมากคือ ปัจจัยที่มาในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสัญญาณโทรศัพท์ ไวร์เลส ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ หรือแม้แต่สารกัมมันตภาพรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความผิดปกติของเซลล์สมองเช่นกัน หากสะสมในปริมาณมาก
แพทย์หญิงสายพิน ตั้งครัชต์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรังสีรักษา สถาบันมะเร็ง กล่าวว่า ปกติมะเร็งและเนื้องอกในสมองพบสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ พันธุกรรม โดยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมีความผิดปกติทางยีนถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ พบความผิดปกติได้ตั้งแต่วัย 3 เดือน ถึง 1 ขวบ และอีกสาเหตุคือปัจจัยอื่นๆ อาทิ รังสีต่างๆ และอาหาร ซึ่งที่หลายคนกังวลมากคือ ปัจจัยที่มาในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสัญญาณโทรศัพท์ ไวร์เลส ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ หรือแม้แต่สารกัมมันตภาพรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความผิดปกติของเซลล์สมองเช่นกัน หากสะสมในปริมาณมาก