นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมความมั่นคงด้านอาหาร ในกรอบเอเชีย-ยุโรป (ASEM High-Level Conference on Food Security) ณ โรงแรมแชงกรีล่า จ.เชียงใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้อง จากภาคการเกษตรและการค้าของประเทศสมาชิกอาเซม เข้าร่วมประชุม ประมาณ 150 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เรื่องความมั่นคงด้านอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซม รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้วสู่ประเทศกำลังพัฒนา
สืบเนื่องจากปฏิญญาเฮลซิงกิ ซึ่งบรรจุเป็นประเทศไทยเป็นประเทศแกนนำเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน เนื่องจากไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร อันดับ 1 ของโลก
การประชุมดังกล่าวมีประเด็นหารือร่วมกัน 3 ประเด็นสำคัญ คือ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก การสร้างความร่วมมือในการเข้าถึงอาหารของประชาชนทุกภูมิภาคทั่วโลก และมาตรการสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนระยะยาว
ทั้งนี้ จากภัยพิบัติต่างๆ ที่รุนแรงทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2549-2551 ทำให้ราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56 รวมทั้งการขึ้นราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ส่งผลให้ประชากรโลกอดอยากหิวโหยเพิ่มมากขึ้น การประชุมดังกล่าวเพื่อวางกรอบแนวทาง ความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิก
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หยิบยกเทคโนโลยีสำคัญ เช่น ความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงอาหาร ในโครงการจัดตั้งองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน +3 หรือ อาเซียนบวกจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดำเนินการ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการสำรองอาหารในภูมิภาคอาเซียน เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อคราวถูกภัยพิบัติ หรือการขายในราคายุติธรรม ในประเทศกลุ่มสมาชิก โดยจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงที่ประเทศกัมพูชา ในปีหน้า ซึ่งประเทศในภูมิภาคอื่นอาจจะใช้เป็นแนวทางในการสำรองอาหารต่อไป
สืบเนื่องจากปฏิญญาเฮลซิงกิ ซึ่งบรรจุเป็นประเทศไทยเป็นประเทศแกนนำเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน เนื่องจากไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร อันดับ 1 ของโลก
การประชุมดังกล่าวมีประเด็นหารือร่วมกัน 3 ประเด็นสำคัญ คือ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก การสร้างความร่วมมือในการเข้าถึงอาหารของประชาชนทุกภูมิภาคทั่วโลก และมาตรการสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนระยะยาว
ทั้งนี้ จากภัยพิบัติต่างๆ ที่รุนแรงทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2549-2551 ทำให้ราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56 รวมทั้งการขึ้นราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ส่งผลให้ประชากรโลกอดอยากหิวโหยเพิ่มมากขึ้น การประชุมดังกล่าวเพื่อวางกรอบแนวทาง ความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิก
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หยิบยกเทคโนโลยีสำคัญ เช่น ความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงอาหาร ในโครงการจัดตั้งองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน +3 หรือ อาเซียนบวกจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดำเนินการ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการสำรองอาหารในภูมิภาคอาเซียน เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อคราวถูกภัยพิบัติ หรือการขายในราคายุติธรรม ในประเทศกลุ่มสมาชิก โดยจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงที่ประเทศกัมพูชา ในปีหน้า ซึ่งประเทศในภูมิภาคอื่นอาจจะใช้เป็นแนวทางในการสำรองอาหารต่อไป