น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้และพรุ่งนี้ (16-17 เม.ย.) ประชาชนจะเดินทางกลับเข้ามาในกรุงเทพฯ มากที่สุด สิ่งที่น่าห่วง คือปัญหาหลับในของคนขับรถ เนื่องจากขาดการผักผ่อนติดต่อกันหลายวัน จึงขอเตือนประชาชนควรเตรียมตัววางแผนก่อนเดินทาง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำหน้าที่ขับรถ ควรนอนให้เพียงพออย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงซึมได้ อาทิ ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยาคลายเครียด และยากันชัก
นอกจากนี้ ผู้ที่นั่งโดยสารมาด้วย ควรช่วยสังเกตอาการหลับในของผู้ขับ 8 ประการ คือ หาวบ่อยและต่อเนื่อง ใจลอยไม่มีสมาธิ เหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในช่วง 2- 3 กิโลเมตรที่ผ่านมา ตาปรือ มองเห็นภาพไม่ชัด รู้สึกมึนหนักศีรษะ ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง และมองข้ามสัญญาณไฟ และป้ายจราจร หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้หยุดขับรถและจอดรถในที่ปลอดภัย เพื่องีบหลับประมาณ 15 นาที หรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับแทน อย่าฝืนขับเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
สำหรับการแก้อาการง่วงนอนขณะขับรถ มีหลายวิธี อาทิ การรับประทานของขบเคี้ยวที่มีรสเปรี้ยวหรือดื่มเครื่องดื่มแช่เย็นที่ช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรือเปิดหน้าต่างรถ เพื่อถ่ายเทอากาศ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในรถและให้ลมโชยปะทะหน้า เปิดเพลงฟังดังๆ จังหวะเร็ว และร้องตามไปด้วย จะช่วยให้ไม่เกิดอาการง่วงนอนได้
นอกจากนี้ ผู้ที่นั่งโดยสารมาด้วย ควรช่วยสังเกตอาการหลับในของผู้ขับ 8 ประการ คือ หาวบ่อยและต่อเนื่อง ใจลอยไม่มีสมาธิ เหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในช่วง 2- 3 กิโลเมตรที่ผ่านมา ตาปรือ มองเห็นภาพไม่ชัด รู้สึกมึนหนักศีรษะ ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง และมองข้ามสัญญาณไฟ และป้ายจราจร หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้หยุดขับรถและจอดรถในที่ปลอดภัย เพื่องีบหลับประมาณ 15 นาที หรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับแทน อย่าฝืนขับเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
สำหรับการแก้อาการง่วงนอนขณะขับรถ มีหลายวิธี อาทิ การรับประทานของขบเคี้ยวที่มีรสเปรี้ยวหรือดื่มเครื่องดื่มแช่เย็นที่ช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรือเปิดหน้าต่างรถ เพื่อถ่ายเทอากาศ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในรถและให้ลมโชยปะทะหน้า เปิดเพลงฟังดังๆ จังหวะเร็ว และร้องตามไปด้วย จะช่วยให้ไม่เกิดอาการง่วงนอนได้