นายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาจำนวนมาก ทำให้ดินอุ้มน้ำเกินจำนวนที่จะรับน้ำไว้ได้มาก แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ลาดเขา โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่น ยางพารา ข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชที่มีรากตื้น ทำให้เสถียรภาพของชั้นดินลดลง จึงควรมีมาตรการในการควบคุมการปลูกพืช
นอกจากนี้ การตัดถนนที่ไม่ถูกหลักวิศวกรรม อาจจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดดินถล่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นภูเขา โดยทางกรมทรัพยากรธรณีกำลังดำเนินการปรับปรุงระบบเตือนภัยให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้หลังเกิดเหตุอุทกภัย โดยพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม โดยจะใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน ซึ่งมีภาพถ่ายเปรียบเทียบก่อนและหลังดินถล่มในเหตุการณ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การตัดถนนที่ไม่ถูกหลักวิศวกรรม อาจจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดดินถล่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นภูเขา โดยทางกรมทรัพยากรธรณีกำลังดำเนินการปรับปรุงระบบเตือนภัยให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้หลังเกิดเหตุอุทกภัย โดยพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม โดยจะใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน ซึ่งมีภาพถ่ายเปรียบเทียบก่อนและหลังดินถล่มในเหตุการณ์ที่ผ่านมา