นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ที่เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นมา จนมีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 425 ส่งผลให้หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะใน จ.นครศรีธรรมราช ที่ อ.พิปูนยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเขื่อนคลองดินแดงที่มีลักษณะเป็นเขื่อนดินขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลออกจากเขื่อนมีปริมาณน้อยกว่าน้ำที่ไหลเข้าเขื่อน โดยสามารถจุน้ำได้อีกในระดับ 1.70 เมตรจากสันเขื่อน ซึ่งหากน้ำท่วมสันเขื่อนจะทำให้ไม่มีทิศทางในการควบคุมน้ำ
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้เตรียมแผนระบายน้ำออกด้วยวิธีเปิดสันเขื่อนแล้ว ขณะที่พื้นที่ จ.พัทลุงยังเกิดน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำใน 9 อำเภอ จ.สุราษฎร์ธานี 4 อำเภอ จ.ชุมพร 6 อำเภอ และ จ.สงขลา น้ำยังท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบอีก 2 อำเภอ โดยกรมชลประทาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ 52 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำอีก 10 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่เนื่องจากขณะนี้น้ำทะเลยังคงหนุนสูงจึงทำให้การระบายน้ำออกสามารถทำได้ช้า
สำหรับพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ด้านพืชมีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 732,655 ไร่ โดยพื้นที่ยางพาราคาดว่าจะเสียหายจากโคลนถล่ม 50,000 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 111,827 ราย ด้านประมง เกษตรกรเดือดร้อน 6,082 ราย บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์ 7,409 บ่อ และด้านปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 48,759 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,915,077 ตัว ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนอาหารสัตว์จำนวน 43,250 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 929 ตัว พร้อมเตรียมเสบียงสำรองไว้อีก 1,120 ตันด้วย
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้เตรียมแผนระบายน้ำออกด้วยวิธีเปิดสันเขื่อนแล้ว ขณะที่พื้นที่ จ.พัทลุงยังเกิดน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำใน 9 อำเภอ จ.สุราษฎร์ธานี 4 อำเภอ จ.ชุมพร 6 อำเภอ และ จ.สงขลา น้ำยังท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบอีก 2 อำเภอ โดยกรมชลประทาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ 52 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำอีก 10 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่เนื่องจากขณะนี้น้ำทะเลยังคงหนุนสูงจึงทำให้การระบายน้ำออกสามารถทำได้ช้า
สำหรับพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ด้านพืชมีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 732,655 ไร่ โดยพื้นที่ยางพาราคาดว่าจะเสียหายจากโคลนถล่ม 50,000 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 111,827 ราย ด้านประมง เกษตรกรเดือดร้อน 6,082 ราย บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์ 7,409 บ่อ และด้านปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 48,759 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,915,077 ตัว ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนอาหารสัตว์จำนวน 43,250 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 929 ตัว พร้อมเตรียมเสบียงสำรองไว้อีก 1,120 ตันด้วย